เกิดจาก ไอน้ำหรือความชื้นในอากาศที่จับตัวกันกลายเป็นหยดน้ำแล้วตกลงมาสู่พื้น น้ำค้างจะเกิดในเวลากลางคืน เเพราะเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิของอากาศในขณะนั้นต่ำ เมื่อถึงเวลากลางวันน้ำค้างที่หยดอยู่บนยอดหญ้า เมื่อได้รับแสงอาทิตย์จากก็จะระเหยไปหมด
น้ำค้างเป็นธรรมชาติที่ มหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่ง เพราะว่ามันเกิดขึ้นได้ไม่ว่าเป็นฤดูร้อน หนาว ฝน หรือฤดูใบไม้ผลิ ในตอนเช้าตรู่เมื่อเราตื่นขึ้นมาก็จะเห็นหยดน้ำน้ำค้างเกาะอยู่ตามใบหญ้า ใบไม้ และตามโลหะต่าง ๆ เต็มไปหมด เมื่อต้องแสงแดดในตอนเช้าจะทอแสงแวววาวสวยงามน่าดู ยิ่งที่มันเกาะอยู่ตามรังของใยแมงมุมที่ขึงอยู่ตามต้นไม้จะเหมือนกับเพชร เม็ดเล็ก ๆ ร้อยเป็นพวง เป็นตาข่ายเกิดความงามอย่างน่ามหัศจรรย์ น้ำค้างใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะเวลากลางคืนหรือเวลาย่ำรุ่งเท่านั้น เพราะแม้แต่ในตอนเย็นก่อนที่พระอาทิตย์ตกดิน บางโอกาสก็เกิดน้ำค้างเกาะอยู่ตามใบหญ้า และใบไม้ด้วยเหมือนกัน
น้ำ ค้างเกิดขึ้นจากละอองไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ เพราะโดยปรกติแล้ว น้ำมีการระเหยกลายเป็นไอแทรกซึมเข้าไปอยู่ในอากาศได้ทุกขณะ ในเมื่อความชื้นของอากาศยังมีน้อยไม่ถึงจุดอิ่มตัว แต่พออากาศอมเอาไอน้ำไว้ได้มากจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว มันจะไม่ยอมรับไอน้ำที่ระเหยอีกต่อไป นอกจากนั้นแล้วมันก็จะ คาย ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศก่อนแล้วนั้นออกไปเสียด้วย จุดที่ไอน้ำในอากาศจับตัวเกาะเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ นี้เรียกว่า "จุดน้ำค้าง"(Dew Point) และจุดน้ำค้างนี้ เปลี่ยนแปลงไปได้ตามลักษณะของอุณหภูมิของอากาศ ความกดดัน และปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ
ในบางครั้งหยดน้ำที่เกาะ ตัวนี้ ยังลอยอยู่ในอากาศเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดฝ้าหนาทึบ เราเรียกว่า "หมอก" ซึ่งเมื่อถูกความร้อนในตอนเช้า หมอกนี้จะค่อยละลายตัวออกไปเป็นไอน้ำปะปนแทรกซึมอยู่ในอากาศเช่นเดิม
ความ ชื้นของไอน้ำในอากาศนอกจากจะทำให้เกิดน้ำค้างและหมอกขึ้นแล้ว ยังมีส่วนสัมพันธ์กับอุณหภูมิของลมฟ้าอากาศอีกด้วย วันใดถ้าอากาศมีความชื้นมาก แม้แดดจ้า และมีอุณหภูมิร้อนจัดเช่นอยู่ในฤดูร้อนเป็นต้น เราจะตากผ้าแห้งช้า แต่ตรงกันข้ามถ้าวันใดอากาศมีความชื้นน้อย แม้ฝนจะตกหรือเป็นเวลากลางคืนก็จะตากผ้าแห้งได้เร็ว
น้ำ ค้างแข็ง (frost) หรือ แม่คะนิ้ง เป็นปรากฎการทางธรรมชาติเมื่อมีอากาศหนาวจัดจะทำให้น้ำค้างที่อยู่บนยอดหญ้า เกิดแข็งตัวเป็นเก็ดน้ำแข็ง(ส่วนมากเกิดบนย่อดดอยในฤดูหนาว)
น้ำ ค้างแข็ง เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของ บรรยากาศซึ่งจะไม่ปรากฏขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย แต่มักจะพบมากในช่วงฤดูหนาวบนยอดดอยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาถิ่นเหนือเรียกน้ำค้างแข็งว่า เหมยขาบ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า แม่คะนิ้ง
1. ลักษณะทั่วไป : จะมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำแข็งขาวๆ จับตัวตามใบไม้ ยอดหญ้าหรือวัตถุต่างๆใกล้ๆ กับพื้นดิน
2. กระบวนการเกิดปรากฏการณ์การเกิดน้ำค้างแข็ง มี 2 แบบด้วยกัน คือ
2.1 การเกิดน้ำค้างแข็งโดยตรง จะเกิดในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศใกล้ผิวโลกลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
2.2 การเกิดน้ำค้างแข็งโดยอ้อม เกิดเมื่ออุณหภูมิอากาศลดต่ำลงโดยมีปริมาณความชื้นใกล้พื้นดินสูง
3 .สถานที่ปรากฏการณ์ของการเกิดน้ำค้างแข็งในประเทศไทย
มักจะเกิดบนดอยหรือภูเขาสูงในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น
เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และเลย
แม่คะ นิ้ง
แม่คะ นิ้ง
เป็นคำจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า
เหมยขาบ คือผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นเนื่องจาก
ไอน้ำในอากาศใกล้ผิวดินลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิจุดน้ำค้าง
แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ต่อจากนั้นอุณหภูมิยังคงลดต่อไปอีก
จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้น้ำค้างแข็งตัว กลายเป็นน้ำค้างแข็ง
ซึ่งจะทำความเสียหายแก่พืชไร่และผักต่าง ๆ เช่น
ข้าวที่กำลังออกรวงก็จะมีเมล็ดลีบ พืชไร่จะชะงักการเจริญเติบโต
พืชผักใบจะหงิกงอ ไหม้เกรียม กล้วย มะพร้าวและทุเรียนใบจะแห้งร่วง
ถ้าเกิดติดต่อกันหลายวัน ก็จะทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกได้มากขึ้น
น้ำค้างแข็ง
ในเมืองไทยสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณยอดดอยในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด
ส่วนมากจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
แต่ดร.บัญชา ธนบุณสมบัติ ผู้ก่อตั้งจากชมรมคนรักมวลเมฆ ในเฟสบุ๊ค บอกว่า แม่คะนิ้ง (hoar frost) กับ น้ำค้างแข็ง (frozen dew) ไม่เหมือนกันนะครับ
แต่ดร.บัญชา ธนบุณสมบัติ ผู้ก่อตั้งจากชมรมคนรักมวลเมฆ ในเฟสบุ๊ค บอกว่า แม่คะนิ้ง (hoar frost) กับ น้ำค้างแข็ง (frozen dew) ไม่เหมือนกันนะครับ
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ