วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อุตุพยากรณ์พื้นบ้าน

การพยากรณ์ฝนฟ้าอากาศ  โดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน  หรือภูมิปัญญาชาวบ้านมีมานาน  อาจเกิดจากการสังเกต  การเข้าใจชีวิตเข้าใจธรรมชาติ  คล้ายวิชาอื่นๆ เช่นแพทย์พื้นบ้าน


                  ลูกแสงขันบอกฝน           
                  จากเรื่องบอกเล่าทั่วไป                    


มะม่วงบอกฝน                  แมลงเม่าบอกสภาวอากาศ ดูพะ
ดอกชุมเห็ดบอกฝน สีท้องฟ้าบอกอากาศหนาว                     สัตว์บอกสภาวอากาศ ๑
JACK1 JACK2 JACK3
BANANA1 BANANA2 BANANA3                      
JACK1 JACK2 JACK3
BANANA1     BANANA2 BANANA3
เทพแห่งฝน การแห่นางแมว    นาคให้น้ำ
ศักราช เกณท์พิรุณศาสตร์         เกณท์ธาราธิคุณ


จุลศักราช (จ.ศ.) จากวิกิพีเดีย
เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 1181 (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุมกษัตริย์ในล้านนา) ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย์ทำการลบศักราชปีมหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน 

เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ จะประสูติ เมื่อไทยอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา 

ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมา จึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่)ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับปีนักษัตร

การเรียกศกตามเลขท้ายปี
ในระบบการเรียกศกตามเลขท้ายปีจุลศักราช นิยมเรียกด้วยศัพท์บาลี ดังนี้

ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 1 เรียก "เอกศก"        ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 2 เรียก "โทศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 3 เรียก "ตรีศก"         ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 4 เรียก "จัตวาศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 5 เรียก "เบญจศก"     ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 6 เรียก "ฉศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 7 เรียก "สัปตศก"       ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 8 เรียก "อัฐศก"
ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 9 เรียก "นพศก"        ปีจุลศักราชที่ลงท้ายเลข 0 เรียก "สัมฤทธิศก"

เเล้วก็เรียกเป็นปี นักษัตร ปีชวด-ปีกุล  ส่วนจะมีใครเห็นแย้งว่าถูกหรือไม่ ตรงกับเจตนาเดิมของบูรพาจารย์หรือไม่นั้นก็ต้องวิเคราะห์ดูเองครับ  เพราะเป็นตำนาน มิใช่วิชาการ



** เรื่องศกนี้สำคัญมาก เกี่ยวกับการทำนายฝน ที่สมุดข่อยสอนวิธีทำนาโบราณบ้านผม (ผู้เขียนบล็อคนี้ ) แบ่งปีนักกษัตริย์ออกเป็น 12ศก รวมรอบปีนักกษัตรย์ ๑ เท่ากับ ๑๔๔ ปี จะบอกไว้ชัดเจนว่า ปีไหนฝนมาเร็วมาช้า มามากมาน้อย แต่เป็นภาษาโบราณที่อ่านยากเอาการ  ปัจจุบันพี่ชายยังเก็บสมุดข่อยนี้ไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น