โดยมีข้อความตอนหนึ่งจากเกษตรกรสีกากีว่า " คุณพ่อเคยบอกว่าสมัยก่อนชาวนาจะคาดการณ์ภูมิอากาศจากผลไม้ตามหัวไร่ปลายนาที่ปลูกหรือขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยที่ไม่ได้ดูแลใส่ปุ๋ย
เช่น : มะม่วงอกร่องจะออกดอกช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค. และเก็บเกี่ยวเมื่อสุกเดือน มี.ค.-พ.ค. ถ้าปีไหนมะม่วงออกผลดก ปีนั้นฝนจะดี น้ำท่าจะอุดมสมบูรณ์ เก็บเกี่ยวข้าวได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งผมก็ได้สังเกตในปี 57 ปีนั้นมะม่วงดกมาก หล่นทิ้งเกลื่อนกราด ปีนั้นฝนดีมากๆ นาข้าวไม่เคยขาดน้ำเลยตลอดช่วงที่ปลูก แต่ปี 58 มะม่วงไม่ค่อยมี ออกลูกน้อย ปรากฏว่าปีนั้นนาข้าวผมขาดน้ำจนข้าวยืนต้นตาย "
มีอีกท่าน เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพันธ์ไม้ และหลายสิ่ง ระดับ อาจารย์ แต่ขอไม่เอ่ยนามเพราะไม่ได้ขออนุญาตก็บอกไว้เช่นกัน ตัวอย่างตามในรูปที่เอามาแปะ แต่ของท่านกล่าวถึงมะม่วงป่า
ลิงค์... มะม่วงปลูกเองจากสวนที่ทำงาน |
แต่ถ้าเอาตามผมวิเคราะห์ แนวพื้นบ้าน มะม่วงมีรสเปรี้ยวเป็นธาติน้ำ ออกดอกเยอะแสดงว่า ธาตุน้ำจะแรง มีความชื้นมาเยอะ ฝนก็น่าจะตกเยอะแปรตามไปด้วย และจะถือเอาเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ ไม่รวมทั่วประเทศ ส่วนเหตุผลจริงๆ จะเป็นเช่นไรนั้นท่านก็ไปศึกษาหาความรู้เอาเองครับ
ส่วนฝนชะช่อมะม่วงนั้น มีเรื่องราวในอินเตอร์เน็ตเยอะแยะ เป็นคำเรียกชื่อฝนที่ตกนอกฤดูฝน คือ ตกในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ซึ่งเป็นระยะที่ต้นไม้ผลไม้ต่าง ๆ กำลังออกช่อ โดยเฉพาะช่อมะม่วง กล่าวกันว่าเมื่อมีฝนนี้ตกลงมาในระยะที่มะม่วงออกช่อ จะทำให้มะม่วงติดผลและมีผลดก
เมื่อพิจารณาโดยทางอุตุนิยมวิทยาเกษตร ก็มีเหตุผลพอจะเชื่อได้ เมื่อมะม่วงออกช่อ ผงฝุ่นละอองในอากาศก็จับเกาะตามช่อ ฝุ่นละอองโดยมากเป็นเกลือ ความเค็มย่อมทำให้ช่อมะม่วงร่วงหล่นและเหี่ยวแห้งไป ไม่ติดเป็นผล แต่เมื่อมีฝนตก ย่อมชะผงฝุ่นละอองที่จับตามช่อให้หมดไป ช่อจึงสะอาด เย็นและชุ่มชื้น ทำให้ช่อติดเป็นผลได้มาก เมื่อมีฝนเช่นนี้ตก ชาวสวนชาวไร่จึงดีใจมาก และเรียกกันว่า ฝนชะช่อมะม่วง ชาวนาเรียกว่า ฝนชะลาน เพราะฝนนี้ตกในระยะที่จะนวดข้าวบนลาน ต้องทำลานให้สะอาด เมื่อมีฝนตกลงมาจึงช่วยชะลานให้สะอาด จึงเรียกว่าฝนชะลาน ฝนชะช่อมะม่วงเป็นฝนขนาดเบา มีปริมาณไม่มาก
ก็ยังมีอีกเยอะครับ เรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้าน แม้นว่าจะดูยากกว่าเทตโนโลยีสมัยใหม่สำหรับคนในเมือง แต่รู้ไว้ เก็บเรื่องราวเอาไว้ก็ดีครับ เผื่อวันข้างหน้ามีเหตุจำเป็น อาจได้นำกลับมาใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น