วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พายุหมุนเขตุร้อน

พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ จุดที่เกิดขึ้นคือบริเวณเขตร้อนของโลก ในซีกโลกเหนือ จากเส้นศูนย์สูตรประมาณละติจูด 5 - 22 องศาเหนือ  โดยพายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ ต่อเมื่อพื้นมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงกว่า 26 - 27 องศาเซลเซียส

พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ยกมาที่ความเร็วลมระดับสูงสุดเช่น ที่มหาสมุทรแอตแนติกเรียก พายุเฮอร์ริเคน,เกิดที่มหาสมุทรแปซิฟิกเรียกพายุไต้ฝุ่น , เกิดที่มหาสุทรอินเดียเรียกพายุไซโคลน, พายุหมุนที่ซีกโลกใต้แถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่า "วิลลี่-วิลลี่" (Willy-Willy) 


     ภาพจาก  http://crisisforums.org/discussion/45851/tropical-storm-updates-from-florida-and-east-coast-bpearthwatch


สำหรับ โครงสร้างของพายุหมุนเขตร้อน (รูปข้างล่าง) ประกอบด้วย 

1) บริเวณตาพายุ (EYE STORM) 
คือ เป็นศูนย์กลางกลางพายุเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ มากที่สุด มีลักษณะเป็นทรงกลม และกลมรี ซึ่งบริเวณตาพายุจะเงียบสงบ ท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีฝนตก ลมสงบนิ่ง หรือไม่มีลมพัด แต่อากาศจะร้อนอบอ้าว เนื่องจากความกดอากาศต่ำในบริเวณตาพายุนั่นเอง 

2) บริเวณกำแพงตาพายุ (EYEWALL


คือ บริเวณรอบๆตาพายุ รัศมีรอบตาพายุประมาณ10-25 กิโลเมตร เป็นจุดที่มีพายุลมแรงจัด และฝนตกหนักสูงที่สุดโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของพายุ เนื่องจากบริเวณกำแพงพายุประกอบไปด้วยเมฆคิวมูโลนิมบัส   ที่เกิดจากการก่อตัวในแนวดิ่งอย่างรุนแรง พร้อมทั้งยกเอาอากาศร้อนและอากาศชื้นขึ้นไปสู่เบื้อง บนของชั้นบรรยากาศอย่างรวดเร็วกลายเป็นเมฆฝนฟ้าคะนอง 

3) บริเวณ RAINBANDS
เป็นบริเวณที่อยู่รอบนอกกำแพงพายุ ซึ่ง RAINBANDS ประกอบไปด้วยเมฆคิวมูโลนิมบัสเช่นเดียวกับบริเวณกำแพงพายุ โดยพายุฝนฟ้าคะนอง บริเวณ RAINBANDS  จะมีลมพายุพัดแรงจัด  และเกิดฝนตกหนักมาก และในขณะเดียวกัน   ฝนก็อาจตกๆ หยุดๆ ได้เช่นกัน    กระแสลมก็จะมีลักษณะกระโชกแรงสลับกับลมอ่อนๆ เป็นช่วงๆ 

ส่วนบริเวณ EYEWALL จะมีทั้งกระแสลมและฝนรุนแรงมากกว่าชั้น Rain band หลายเท่า  กระแสลมและฝนจะเกิดอย่างต่อเนื่องไม่สลับหนักเบา




พายุแบ่งตามระดับความเร็วลม ได้ 3 ระดับ ดังนี้

พายุดีเปรสชั่นเขตร้อน (Tropical depression) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 34 น็อท หรือ 63 กม./ชม.

พายุโซนร้อน (Tropical storm) ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 34 น็อท หรือ 63 กม./ชม.ขึ้นไป  แต่ไม่ถึง 63 นอต หรือ 118 กม./ชม.

พายุไต้ฝุ่น (Typhoon)  ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 64 นอต หรือ 118 กม./ชม. ขึ้นไป  มีความรุนแรงมากที่สุด สามารถทำให้เกิดความเสียหายได้มากมาย  และยังแบ่งตามความเร็วได้อีก 5 ระดับ

ระดับความรุนแรงของพายุระดับไต้ฝุ่น จัดตามระดับความเร็วลมดังนี้

ระดับความรุนแรงของพายุ ระดับ F1
ความเร็วลม 119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 เมตร ความกดอากาศ 980 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง เล็กน้อยไม่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้าง มีน้ำท่วมบ้างตามชายฝั่ง ท่าเรือเสียหายเล็กน้อย

ระดับความรุนแรงของพายุระดับ F2
ความเร็วลม 154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 เมตร ความกดอากาศ 965-979 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง น้อย หลังคา ประตู หน้าต่างบ้านเรือนมีเสียหายบ้าง ก่อให้เกิดน้ำท่วมทำลายท่าเรือ จนถึงอาจทำให้สมอเรือที่ไม่ได้ป้องกันไว้หลุดหรือขาดได้



ระดับความรุนแรงของพายุระดับ F3
ความเร็วลม 178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 เมตร ความกดอากาศ 945-964 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง ปานกลาง ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้บ้าง โทรศัพท์บ้านถูกตัดขาด แผงป้องกันพายุตามบ้านเรือนได้รับความเสียหาย อาจเกิดน้ำท่วมขังเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน

ระดับความรุนแรงของพายุระดับ F4
ความเร็วลม 210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 เมตร ความกดอากาศ 944-920 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง สูง แผงป้องกันพายุเสียหายหนักยิ่งขึ้น หลังคาบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน


ระดับความรุนแรงของพายุระดับ F5
ความเร็วลม ไม่น้อยกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความสูงของคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร ความกดอากาศ น้อยกว่า 920 มิลลิบาร์?อานุภาพในการทำลายล้าง สูง หลังคาบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย ตึกรามบางแห่งอาจถูกพัดถล่ม เกิดน้ำท่วมขังปริมาณมากถึงขั้นทำลายข้าวของในชั้นล่างของบ้านเรือนใกล้ชายฝั่ง และอาจต้องมีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทำการอพยพโดยด่วน

เพิ่มเติมระดับความรุนแรงของพายุทอร์นาโด
จะยึดตาม Fujita scale ซึ่งกำหนดให้พายุในแต่ละระดับมีความแรงแบ่งออกเป็นรายระดับตามกำลังทำลายและความเร็วลม โดยแบ่งเป็น F0 – F5 โดย F0 เป็นทอร์นาโดที่อ่อนกำลังสุด และ F5 เป็นทอร์นาโดที่กำลังแรงสุด

พายุ F0 ความเร็วลม 64-116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F1 ความเร็วลม 117-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F2 ความเร็วลม 181-253 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F3 ความเร็วลม 254-332 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F4 ความเร็วลม 333-418 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุ F5 ความเร็วลม 419-512 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ที่มาข้อมูล wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น