โดยแจ้งสมาชิกกลุ่มฯ ว่าจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง หรือหย่อม Low จะเข้าภาคใต้ ช่วงวันที่ 3 มค. 62 และตัวผมเองได้แจ้งญาติพี่น้อง ที่ระโนด สงขลาให้ทราบล่วงหน้า เพราะเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยน้ำท่วมใหญ่ 4 -10 มค. 2560 จากหย่อมความกดอากาศต่ำ เคลื่อนเลียบชายฝั่งอันดามัน ที่เคยท่วมตั้งแต่นราธิวาส ถึง จ. ประจวบฯ
ลิงค์จากเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/groups/paipibat.vcharkarn/permalink/2234235670158419/ |
2.โมเดล 30 ธค.61 บอก วันที่ 4 มค.62 หย่อม L กำลังแรง จะเข้าภาคใต้..โพส 30.12.61 ภาพจากโมเดลฯ บอกว่า ความกดอากาศต่ำกำลังแรงจะเข้าอ่าวไทยตอนล่างวันที่ 3 มค.2562 จะถึงชายฝั่งตะวันออกภาคใต้ 4 มค.62
จึงแจ้งสมาชิกกลุ่มว่า..... ช่วยกันติดตามครับ..ยังเป็นเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ หากเข้ามาถึงฝั่งและกำลังแรง ยังไงก็ยังมีฝนตกมากและลมค่อนข้างแรง
และขอแจ้งให้ทราบว่า....การโพสว่าจะมีพายุ รุนแรง...เข้าภาคใต้ เข้าไทย จะไม่ผ่านให้ง่ายๆนะครับ ไม่อยากให้กลุ่มเป็นจำเลย สังคม จำเลยหน่วยงานรัฐ ... บอกแค่ว่าเป็นความกดอากาศต่ำกำลังแรง หรืออาจเป็นพายุดีเปรสชั่นก็พอแล้ว แล้วก็ทำลิงค์ให้ไปดูที่หน้าโปรไฟล์ดีกว่า จะเตือนแบบให้รุนแรงแค่ไหน ให้ถูกใจแฟนๆ ใครเชื่อไม่เชื่อก็เป็นสิทธิ์ของเขา กลุ่มเราเน้นบอกก่อน เตือนก่อนดีกว่า
๓. 1 มค. 2562 ขอสวัสดีปีใหม่ทุกคน พร้อมคำคาดการณ์...
และขอบอกเลยไปว่า ฝนน่าจะตกที่ภาคเหนือตอนบน วันที่ 8 / 9 มค.2562 ครับ //
ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายในสากลโลก อำนวยพรให้สมาชิกฯกลุ่มทุกท่าน มีความสุขสมหวังและประสบความสำเร็จในชีวิต ตามที่ใจปรารถนาครับ
พายุ 36 W ลูกนี้จะพาความชื้นจากอันดามัน ไปสอบกับลมหนาวเจ็ตสตรีมตอนบน ทำให้มีฝนตกที่ภาคเหนือตอนบน 8 - 9 มค. 2562 จริงไม่จริง เก็บโพสเอาไว้รอดูครับ
การเคลื่อนของพายุจะไปตามลมชั้นกลางถึงชั้นบน แต่ลมชั้นบนเคลื่อนไปทางนี้จริงหรือ เพราะเรามองไม่เห็นเองด้วยตา แต่ก็ควรนำมาพิจรณาให้เข้าใจในหลักการณ์นี้ ตามทฤษฏี ว่าทำไมถึงเป็นเช่นนี้
การรับมือพายุครั้งที่พร้อมที่สุดในภาคหน่วยงานรัฐ เอกชน ประชาชนทั่วไป และโลกโซเชียล เตือนภัยฯ
ช่วงนี้ สมาชิกทางฝั่งชุมพร ระนอง จะถ่ายภาพท้องฟ้า เป็นสีแดงมาให้ดู แต่ดูแล้วสีออกโทนอากาศหนาวมากกว่า คือสีแดงออกชมพู หรือแดงคราม และมักเป็นท้องฟ้ายามเย็น
แดงพายุมักเป็นแดงฝั่งตะวันออก ตอนเช้า // ตอนเย็นก็มีเช่นกัน อยู่ที่การเคลื่อน สีจะออกแดง คล้ำ แดงเขียว มากกว่า ต้อองสังเกตุเองครับ บอกยาก
๔. พายุดูจากยอดเมฆ ความเร็วลดลง..3.มค.62
จากภาพเมฆดาวเทียม เปรียบเทียบ มิติของเมฆพายุ เวลา 10.00 น.วันนี้ 3 พค.2562 กับเมื่อเวลา 22.15 น. คืนวันที่ 2 มค.2562
จะเห็นว่ายอดเมฆที่อุณภูมิถึง -80 C (สีเหลือง) เมื่อคืนนี้ แต่ช่วง 10.00 น.เหลือเพียงจุดเล็กๆ จึงคาดการณว่า ความเร็วพายุได้ลดลงแล้ว จะจริงไม่จริง รอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงบอกอีกทีครับ แต่ฝนนั้นหนักแน่นอนครับ
๕. ดาวเทียมอุตุฯออสเตรเลีย 21.50 / 3 มค.62
ภาพดาวเทียม นราธิวาส ปัตตานี เข้าเขตฝนหนัก ลมแรง แต่สภาพความเป็นจริงเป็นยังไง บ้าง รอสมาชิกท้องถิ่นส่งข่าวครับ เป็นกำลังใจให้เพี่น้องที่อยู่ในเขตพายุทุกคนครับ
๖.พายุเข้าแล้วถอยกลับ ..หรือส่วนที่เหลือ ไม่ตามมา
พายุเข้าทางสทิงพระ ระโนดตี 3 /โพสนี้ อับเดทเพิ่มรูป พร้อมข้อความ ต่อเนื่องตั้งแต่ตี 3 คืนวันที่ 3 เป็นต้นมาครับ พายุหรืออาจแค่ฝนตกหนักเข้าทาง สทิงพระ ระโนด ตี 3 วันที่ 3 ต่อ 4 มค. 62 จากภาพดาวเทียม/เรดาร์ ตี 3.10 และตี 3.15 คืนวันที่ 3 มค.
คืนวันที่ 3 มค.ต่อกับเช้าวันที 4 มค.2562 จะเห็นว่าพายุเข้าทางตะวันตก ที่ อ.สทิงพระ อ.ระโนด จ.พัทลุง ฯ มีฝนหนัก สงขลา สทิงพระ ระโนด หัวไทร แหลมตะลุมพุก พัทลุง และความเร็วลดลง (สีเหลือง ยอดเมฆ) เริ่มเหลือน้อยลง คาดการณ์วันี้ บอกสมาชิกกลุ่มว่า พายุจะออกไปทาง ทุ่งสง ตรัง กระบี่ ภูเก็ต (อาณาบริเวณนั้น) แต่ตอนนี้ความเร็วเริ่มลดลงแล้ว พรุ่งนี้วันที่ 4 มค. ลงทะเลฝั่งอันดามัน เวลาไหนไม่แน่ชัด น่าจะมีกำลังแรงขึ้นได้อีก
7.อับเดทตี 4.50 น เหตุการณ์จริงปรากฏว่า ดูเหมือนส่วนที่เหลือของพายุจะถอยออกมา หรือไม่ยอมตามเข้าไป ตี 5.50 น. ภาพดาวเทียม ยังมีฝนหนัก ลมแรงนอกฝั่งอ่าวไทย ภาพพายุ 08.40 น.ที่นอกฝั่งอ่าวไทยเหลือแค่สีแดง แสดงว่าความสูงของเมฆต่ำลง พายุแรวตกลง ยังสะสมพลังงานไม่ได้
แต่สุดท้ายราวๆ 10 น. พายุเข้าปากพนัง ความแรงยังระดับโซนร้อน แต่ฝนน้อย (มีพายุที่ ใกล้ชายฝั่งตะวันออกออสเตรเลีย 2 ลูก ความชื้นอาจโดนแบ่งไปทางฝั่งโน้นหลายส่วน) แต่ก็ได้รับผลกระทบมากมาย มีภาพจากสมาชิกกลุ่ม แถวหัวไทร ปากพนัง และอาณาใกล้เคียงที่ได้รับความเสียหายเยอะ โดยเฉพาะสวนผลไม้ ที่หักโค่นไปเยอะ แต่ไม่นำภาพมาแสดงนะที่นี้
ลิงค์ขอบคุณทุกฝ่าย https://www.facebook.com/groups/paipibat.vcharkarn/permalink/2239409902974329/ |
b>สรุปว่าพายุ เข้าฝั่งด้วยความแรงระดับโซนร้อน ( 75 กม/ ชม.) แต่ฝนค่อนข้างน้อย และยอดเมฆไม่สูง (ภาพดาวเทียม ) จึงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อประกอบการเตือนความทรงจำในครั้งต่อไปครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น