วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คลื่นกระแสลมตะวันออก

คำว่าคลื่น  สำหรับท่านไม่ได้ศึกษาเรื่องไฟฟ้าสื่อสารมาก่อน     ก็ขอให้นึกถึงคลื่นทะเล     จะมีลัษณะคล้ายกันในแบบคลื่นซายด์ (โค้งขึ้นแล้วโค้งลง จริงแล้วก็เขียนมาจากรอบวงกลม ๑ วง)    คลื่นกระแสลมตะวันออกก็ความหมายตามตัว   คือไหลจากตะวันออกไปตะวันตก   โดยความยาวของคลื่นจะคิดจากจุดเริ่มที่เคลื่นที่ไป... สูงขึ้นและต่ำลง.. ไต่สูงขึ้นจนมาถึงที่จุดเดิม เป็นการครบ 360 องศาถือเป็นคลื่น 1 ลูก จุดนี้จะใช้เวลาสั้นหรือยาวเท่าไหร่ จะใช้ระยะทางเท่าไหร่  คือความยาวคลื่น



คลื่นกระแสลมตะวันออก   จะกลับทางกับ คลื่นกระแสลมตะวันตก   คือจะไหลจากตะวันออกไปตะวันตก เราจะมองเห็นด้าน troug (ขาขึ้น ด้านความชื้นเยอะด้านมีเมฆเยอะ)  จะโค้งลงมาทางทิศใต้) ส่วนด้านขาลง (แห้งและเย็น) จะโค้งขึ้นทางทิศเหนือ เป็นด้าน Ridge // ดูแผนที่ความกดอากาศเท่า (isobar)ของกรมอุตุฯ


เพราะฉะนั้นที่แกน trough จะต้องสำพันธ์กับลมค้าทางใต้ เมื่อลมค้าทางใต้ ซึ่งเป็นอากาศหนาวจากซีกโลกใต้ โฉบเข้ามาปะทะ กับตำแหน่งคลื่นตรงแกน trough ของคลื่นกระแสลมตะวันออก  ที่มีความชื้นอยู่มาก (กระแสอากาศขาขึ้น ) ความปั่นป่วน จากฝนฟ้าคะนอง จึงเกิดขึ้น เป็นลักษณะเดียวกับคลื่นกระแสลมตะวันตกนั่นเอง


ลักษณะที่สำคัญของคลื่นกระแสลมตะวันออก 
คลื่นกระแสลมตะวันออก   เป็นคลื่นยาว  (Long  Wave) ที่ปรากฏในลมค้า  ทางตอนเหนือด้านตะวันตก  ปกติจะปรากฏครั้งแรกในเดือนเมษายน   หรือพฤษภาคม  และเห็นไปถึงเดือนตุลาคมหรือพฤศิจกายน ที่ละติจูด 5 -15 องศาเหนือ มีช่วงคลื่น (Weave Length) 2,000 – 2,500 กม.(คลื่น 1 ลูก ) ปรากฏ ในช่วงเวลา 3  – 4 วัน และเคลือนที่ด้วยความเร็วประมาณ 18  –36 กม./ชม หรือเคลื่อนที่ประมาณ 5 – 7 องศาลองติจูด / วัน 


โดยจะแรงขึ้นถ้าอยู่ใกล้ ITCZ (Intertropical Convergence Zone ) ในสัปดาห์หนึ่งจะ ปรากฏขึ้นประมาณ 2  ครั้ง  โดยประมาณว่า 9 ใน 100 คลื่นนี้จะพัฒนาการเป็นพาุยหมุนเขตร้อน ซึ่งมีการศึกษาไว้ว่า ประมาณ 60% ของพายุในแถบมหาสมทรแอตแลนติก ที่มีความรุนแรงแรงเกิดจากคลื่นกระแสลมตะวันออกนี้ 


คลื่นกระแสลมตะวันออก (Easterly wave)

เวลาฟังคำพยากรณ์จากกรมอุตุฯ  ซึ่งมีบ่อยในช่วงเดือนเมษายน   หรือพฤษภาคม  ที่จะได้ยินว่าให้ระวังฝนจะตกหรือจะมีพายุฝนฟ้าคนองในอีก 3-4 วันข้างหน้า จากคลื่นกระแสลมตะวันออก ที่เคลื่อนเข้ามา

แผนที่เส้นความกดอากาศเท่าของกรมอุตุฯ หากสังเกตุ ตัว L ว่าอยู่บริเวณไหนของคลื่น ..จะสามารถรู้ทิศทางลมได้

พอจะสรุปการเกิดขึ้นของกระแสคลื่นนี้ได้ว่า
 กระแสลมตะวันออก 
เป็นลมประจำถิ่นที่พัดบริเวณละติจูดต่ำหรือเขตร้อน   โดยลมตะวันออกที่เคลื่อนผ่านแนวเทือกเขา  แนวยกตัวของอากาศร้อนท้องถิ่น  สามารถเกิดเป็นคลื่นได้ ,  ลมตะวันออกที่พัดอ่อนสลับกับแรงทำให้เกิดเป็นคลื่นได้   โดยเฉพาะบริเวณมหาสมุทร เมื่อกระแสลมตะวันออกมีความแรงมากพอก็ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวเหมือนคลื่น      ทำให้เกิดอากาศปั่นป่วนเกิดแรงเหนี่ยวนำยกตัวทำให้เกิดเป็นกลุ่มเมฆฝน   ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงและเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้  


คลื่นกระแสลมตะวันออก      มีความเชื่อมโยงกับการเกิดพายุหมุนเขตุร้อนในแถบมหาสมทรแปซิฟิก  มหาสมุทรแอตแลนติก  การเคลื่อนตัวของคลื่นผ่านบริเวณต่างๆ    ในเขตโซนร้อนแหล่งกำเนิดคลื่นกระแสลมตะวันออกเริ่มก่อตัวที่ระดับความกดอากาศประมาณ   700  มิลลบาร์ (สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3.5 กม.)  ในช่วงฤดูร้อนบริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก  คลื่นอากาศนี้จะก่อตัว จากหย่อมความกดอากาศต่ํา  แล้วค่อยๆเคลื่อนที่ผ่าน เวียดนาม ไทยพม่า  และตอนบนของอ่าว เบงกอล และอาจเคลื่อนตัวต่อไปยังอินเดียและทะเลอาราเบียนด้านตะวันออก แล้วอ่อนกำลังลงที่บริเวณทะเลอาราเบียนด้านตะวันตก 




หลังจากนั้นจะเคลื่อนตัวต่อไปยังบริเวณ ตอนเหนือของอัฟริกา เคลื่อนตัวผ่านไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก และบางครั้งอาจเคลื่อนตัวผ่านทวีปอเมริกาไปยัง มหาสมทรแปซิฟิกด้านตะวันออก   แล้วอ่อนกำลังลงเนื่องจากอุณหภมิน้ำทะเลที่ต่ําในบริเวณนั้น และ เคลื่อนตัวต่อไปอีกจนถึงตอนกลางของมหาสมทรแปซิฟิก เป็นการครบรอบการเคลื่อนที่ ใน ระหวางการเคลื่อนที่  คลื่นอากาศจะมีการผันแปรอยางมากในแนว  มีความรุนแรง ความยาวคลื่น ความเร็ว ในการเคลื่อนตัวและตำแหนงของเมฆและฝนในคลื่นอากาศที่อาณาาบริเวณตำแหน่ง Trough (ช่วงขาขึ้นของคลื่น )


ตัวอย่างแผนที่ลักษณะอากาศในเดือนเมษายน   ขณะที่แกน Trough อยู่ด้านตะวันออกประเทศฟิลิปินส์ แต่ที่ด้านตะวันตกเป็นลักษณะของ Ridge กำลังเคลื่อนเข้าไปทางทะเลจีนใต้ ด้าน Trouhg จะมีฝนฟ้าคะนองหรือพายุเกิดขึ้นได้
พายหมุนเขตุร้อน ส่วนมากมีพัฒนาการมาจากคลื่นกระแสลมตะวันออก   คลื่นอากาศนี้จะเห็น ได้ในลักษณะของเส้นความกดอากาศเท่า  (isobar) ที่เคลื่อนจากตะวันออกไปทางตะวันตก     พายุฝน ฟ้าคะนองจะปรากฏด้านตะวันออกของคลื่น เพราะการยกตัวของอากาศ (ในรูปส่วนโค้งที่ชี้ไปทางทิศใต้)  


โดยมีการพัฒนาเป็นลักษณะหมุนเวียนของอากาศเขาหาศูนยกลาง (Cyclonic) จนเป็นพายเฮอริเคนได้     สวนพายใต้ฝุ่น หลายลูกในเขตแปซิฟิกตะวันตก เชื่อกันว่ามีพัฒนาการจากคลื่นกระแสลมตะวันออกเช่นกัน 


โปรดสังเกตุรูปคลื่นแผนที่ความกดอากาศผิวพื้น ในแต่ละฤดูกาล

ที่เขียนเครื่องหมายลูกศรไว้  เป็นลักษณะรูปคลื่น  มีความกดอากาศ ตัว L กับตัว H ภาพนี้เป็นความกดอากาศหน้าฝน 30 มิย. 2558 ที่ตำแหน่งตัว L กับ H หากเป็นหน้าหนาวจะสลับกัน (เฉพาะผิวพื้น คลื่นไหลคนละทางกัน แกน trough กับ ridgeจะกลับทากัน ) สังเกตุ เมฆจะก่อตัวเยอะที่ร่องคลื่นเดียวกับตัว L

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น