วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คลื่นกระแสลมตะวันตก

คลื่นหากท่านไม่เคยได้ศึกษาระบบไฟฟ้าสื่อสารมาก่อน    ก็ขอให้นึกถึงคลื่นทะเล  จะมีลักษณะคล้ายๆกันในแบบคลื่นซายด์ (โค้งขึ้นแล้วโค้งลง)  เสียงที่เราได้ยินก็เป็นคลื่น  แต่มีความถีต่ำ ระดับ 20 รอบ ถึง 20000 รอบต่อวินาที   คลื่นวิทยุคือคลื่นที่ใช้ส่งสัญญานต่างๆ จะมีความถี่สูงๆ  สูงถึงหลายล้านรอบต่อวินาที ความยาวคลื่นจะสั้นมากเป็นไมครอนเมตรฯ เช่นส่งวิทยุ โทรทัศน์ ไมโครเวฟ  ดาวเทียมฯ

โดยปกติแล้วช่วฤดูหนาว   ประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงเหนือ  แต่ช่วงกลางหรือปลายฤดูหนาวจะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกพัดเข้ามาทุกปี  และกรมอุตุก็มักประกาศให้ระวังฝนตก ลมแรงที่อาจเกิดขึ้นได้


คลื่นกระแสลมตะวันตกก็ความหมายตามตัว   คือไหลจากตะวันตกไปตะวันออก   เป็นลมระดับชั้นกลางขึ้นไป ไม่ใช่ลมที่พัดอยู่บนผิวพื้น     โดยความยาวของคลื่นจะคิดจากจุดเริ่มที่เคลื่นที่ไป... สูงขึ้นและต่ำลง.. ไต่สูงขึ้นจนมาถึงที่จุดเดิม เป็นการครบ 360 องศาถือเป็นคลื่น 1 ลูก จุดนี้จะใช้เวลาสั้นหรือยาวเท่าไหร่ จะใช้ระยะทางเท่าไหร่  คือความยาวคลื่น

ภาพวาดนี้อาจจะดูยาก. เขียนไม่สมบูรณ์ . ให้เข้าใจว่าเริ่มนับที่ 0 องศา 90  -180 - 245 -  360   ตามลำดับ

ส่วนคลื่นกระแสลมจะเป็นคลื่นแบบยาวๆ     ยาวกว่าคลื่นของน้ำทะเล   คลื่นทะเล 1รอบยาว 10 เมตร คลื่นทสึนามิยาว 150 เมตรเป็นต้นโดยประมาณ ความยาวคลื่นกระแสลมอาจจะยาวเป็น  100 หรือ 1,000 กว่ากม.ต่อ ๑ ลูกคลื่น  และมีอะไรถูกพาไปบ้างในคลื่นนั้น      สิ่งที่ถูกพาไปนั้นคือกระแสคลื่น


คลื่นกระแสลมตะวันตก (Westerly Trough)
ปกติแล้วจะมี 2 คู่ (เหมือนกัน) ในซีกโลกเหนือและใต้ แต่ที่มีอิทธิพลต่ออากาศบ้านเรา     คือส่วนหนึ่งของคลื่นกระแสลมกรดกึ่งโซนร้อน sub Tropical jet (เส้นสีชมพู) ที่ละติจูด 25 - 40 เหนือ (ใต้ ) ที่ระดับความสูงประมาณ 5.5 กิโลเมตร ซึ่งโดยปกติจะมีความปั่นป่วนที่อากาศแจ่มใส เพราะมาจากที่สูง จากละติจูดสูง ความชื้นน้อย  และเป็นกระแสลมระดับที่เป็นอันตรายกับการบินได้เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่นักบินต้องรู้พิกัดความปั่นป่วนของอากาศจากกรมอุตุฯก่อนทำการบิน

เพิ่มจากลิงค์ https://pantip.com/topic/33635598

แต่ในปลายฤดูหนาว บางทีก็ต้นฤดูหนาว คลื่นนี้จะพัดลงมาทางละติจูดต่ำ แล้ววกกลับขึ้นไปละติจูดสูง แต่เมื่อโฉบลงมาในเขตุร้อนชื้นจะปะทะ  หรือเหนี่ยวนำดึงเอาอากาศอุ่นชื้นจากข้างล่างขึ้นไปด้วย    โดยเฉพาะที่ด้าน trough (ขาขึ้นสูงสุดของลูกคลื่น)  ไปปะทะกับความกดอากาศสูงที่เคลื่อนมาจากทิศเหนือหรือจากด้านบน    เกิดการปะทะกัน  ระหว่างลมร้อนชื้น และอากาศหนาว  ความปั่นป่วนจึงเกิดขึ้น ฝนฟ้าคะนองจึงเกิดขึ้น (เพิ่มเติม http://www.aeromet.tmd.go.th/met/story/story.htm ) ดูรูปข้างล่างประกอบ


ภาพข้างบนนี้ผมพึ่งเขียนใหม่ (อับเดท)  โดยโพสในเฟสบุ๊คกลุ่ม วันที่ 3 มค.2562 และพยากรณ์ว่า ฝนจะตกภาคเหนือตอนบนวันที่ 8 หรือ 9 มค.2562 ซึ่งต่อมาฝนก็ตกจริง  หากสังเกตุดีๆจะเห็นคลื่นกระแสลมตะวันตกพัดสอบกับลม วนขวาขาชึ้น   ที่นำความชื้นมาปะทะกับลมเย็นพอดี ส่วนการพยากรณ์นั้นจะไม่ใช่แบบจำลองอย่างเดียว จะใช้เมฆดาวเทียม  บวกกับสมาชิกทางภาคใต้ ภาคอื่นเรื่องทิศทางลม แล้วนำมาประมวลเข้าด้วยกันครับ


โดยปกติการพิจารณากระแสคลื่นลมตะวันตก  จะพิจรณาจากลมชั้นบนระดับ 300-700 hPa ( 3-9 กม.)

-หลักเกณฑคล้ายๆ กับคลื่นกระแสลมตะวันออก แต่คลื่นจะไหลจากตะวันตกไปตะวันออก     โดยมีรูปร่าง แบบ V-sharp โดยฝนจะมีมากทางด้านหน้าของ Trough ส่วนทางด้านหลังอากาศจะจมตัว ไม่มีฝน

-บางครั้งคลื่นกระแสลมตะวันตกเมื่อเคลื่อนเข้ามาถึงประเทศ พม่า จะมองไม่เห็น  หรือเป็นด้าน Ridge แต่เมื่อเคลื่อนมาถึงภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยจึงจะมองเห็น  เพราะเป็นด้าน
Trough ที่มีเมฆมีฝน


พิจรณาดูแล้วคลื่นกระแสลมตะวันตกบางทีดูคล้ายๆกับลมค้า (trade winds)
อากาศเย็นที่บริเวณเส้นละติจูด 30° เหนือและใต้ ที่ถูกแรงดันของอากาศที่จมตัวลงจนด้านบน ผลักดันให้ไหลไปยังบริเวณที่มีแรงกดอากาศต่ำ บริเวณเส้นศูนย์สูตร เกิดเป็นกระแสลมที่เรียกกันว่า ลมสินค้า หรือลมค้า (trade winds) ลมสินค้านี้จะพัดไปเรื่อยๆ จนถึงบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ก่อนที่จะหมดกำลังลง จึงทำให้เกิดเขตลมสงบ หรือลมอ่อน (doldrums)






โปรดสังเกตุรูปคลื่นและทิศทางบนแผนที่ความกดอากาศผิวพื้นในแต่ละฤดูกาล

ที่เขียนเครื่องหมายไว้ เป็นลักษณะรูปคลื่น  มีความกดอากาศ ตัว L ยกขึ้นกับตัว H จมตัวลงตามแนวคลื่น Trougu และ  Ridge ภาพนี้เป็นความกดอากาศหน้าฝน 30 มิย. 2558  (ผิวพื้น คลื่นไหลไปคนละทางกัน  ตัวนี้จะไหลจากตะวันออกมาตะวันตกด้าน  Troug จะเป็นความกดอากาศต่ำ ตัว L เสมอ กับด้าน Ridge ที่จะเป็นลักษณะของตัว H ความกดอากาศสูง Troug & Ridge คลื่นกระแสลมตะวันตกกับตะวันออกจะสลับกัน  โปรดดูภาพแรกของหน้านี้ประกอบ)



กำหนดศนยกลางความแรงของความกดอากาศสง

1,030 hPa -ความกดอากาศสงมกำลังปานกลาง
1,045 hPa -ความกดอากาศสงมกำลังคอนข้างแรง
1,050 hPa -ความกดอากาศสงมกำลังแรง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น