วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลูกเห็บ

ลูกเห็บเป็นปรากฏการทางท้องฟ้าที่ผมพบเจอน้อยมาก  เคยเจอเองแต่ลูกเล็กๆ เพราะเกิดทางภาคใต้ (นาน น๊านนนๆ จะมีลูกเห็บมาสักที  คนเฒ่าคนแก่เรียกว่า ฝนห่าแก้ว )  มาอยู่กรุงเทพฯ ก็มีบ้าง โดยเฉพาะในระยะปีหลังๆมานี่ แต่คนทางเหนือ อิสานเจอกันบ่อย นับเป็นประสบการณ์ที่ไม่น่ายินดี เพราะเป็นเหตุเภทภัยชนิดหนึ่ง ที่สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินไม่น้อย

ลูกเห็บ (Hail)
คือ น้ำฟ้าที่ตกลงมาในลักษณะเป็นก้อนหรือชิ้นน้ำแข็ง มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 5-50 มิลลิเมตร (0.2-2 นิ้ว) แต่บางครั้งอาจมีขนาดโตกว่าและอาจตกลงมาเป็นก้อนๆหรือเกาะรวมกันเป็นก้อนขรุขระ


เกิดของลูกเห็บ
เกิดจากไอน้ำที่จับกลุ่มกันมากขึ้น ลอยขึ้นไปกระทบอากาศเย็น ก็เกิดการควบแน่น เป็นเมฆ  พออากาศอุ่นร้อนของพายุฝนฟ้าคะนองยังคงดันพุ่งขึ้นสูงไปเรื่อยๆ ในชั้นบรรยากาศเหนือพื้นโลกมากขึ้น  กระทบกับอากาศเย็นจัดน ไอน้ำเหล่านี้ ก็จะกลายสภาพเป็น หยดน้ำเย็นยิ่งยวด (Supercooled Water) และกระทบกัน หรือจับกับฝุ่นละอองในอากาศ เกิดเป็นผลึกน้ำแข็ง 

BX.in.th Bitcoin Exchange Thailand


แล้วพอจับตัวกันมากขึ้น น้ำหนักของมันก็จะเยอะขึ้นตามลำดับดังนั้น ก้อนน้ำแข็งเหล่านั้น ก็จะร่วงหล่นลงมาด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก พอก้อนน้ำแข็งนี้ ร่วงลงมาเรื่อยๆ เปลือกด้านนอกของมันก็จะละลายตามไปด้วย แล้ว แล้วมาเจอกับกระแสลมร้อน (Warm Updraft) พัดกลับขึ้นไปอีกรอบ มันก็จะพุ่งกลับขึ้นไปใหม่ แล้วกระบวนการด้านบนนั้น ก็จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่ง น้ำหนักของมันสามารถเอาชนะแรงลมได้ ตกลงมากลายเป็นก้อนน้ำแข็งที่เรียกว่า “ลูกเห็บ (Hailstone)

สถิติ ของลูกเห็บที่หนักที่สุดในโลก
ตกที่ เมืองคอฟฟีย์วิลล์ (Coffeyville) รัฐแคนซัส ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2513 โดยหนักถึง 770 กรัม (หรือ 1.7 ปอนด์) มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 14.5 เซนติเมตร (5.7 นิ้ว) ส่วนลูกเห็บที่ขนาดใหญ่ที่สุดนั้นตกที่ ออโรรา (Aurora) รัฐเนแบรสกา ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 17.8 เซนติเมตร (7 นิ้ว) แต่มีน้ำหนักน้อยกว่า อาจเนื่องมาจากมีบางส่วนแตกหลุดไปในระหว่างตกกระทบบ้าน




วิธีเตรียมพร้อมรับมือกับพายุลูกเห็บ

1.สำรวจที่อยู่อาศัยและรีบทำการซ่อมแซมวัสดุที่ไม่มั่นคงให้มีความแข็งแรงและทนทานต่อพายุลูกเห็บได้

2.หาที่หลบในบ้านหรือเพดานและหลังคาที่แข็งแรง และปิดประตู หน้าต่างให้สนิท เพื่อป้องกันการกระแทกและสิ่งของปลิวเข้ามาในบ้านเรือน

3.ห้ามหลบบริเวณหลังคากระจกหรืออยู่ใกล้ประตูและหน้าต่างที่เป็นกระจก

4. ดูแลเด็กมิให้ออกไปเก็บลูกเห็บเล่น เพราะอาจได้รับอันตรายจากลูกเห็บตกได้

5. อยู่ให้ห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าทุกชนิด ไม่สวมใส่เครื่องประดับ เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน เป็นต้น งดเว้นการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดชั่วคราว เพราะในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง มักเกิดฟ้าผ่า อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น