วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลักษณะของลมฟ้าอากาศ

การดูลมฝนฟ้าอากาศ ในสมัยก่อน  พยากรณ์ได้จากการสังเกตุ  ดูเมฆ ดูลม ดูดาวบนฟ้า เกณท์ธาราธิคุณ พิรุณศาสตร์  น้ำทะเล แม่น้ำ ลำคลอง ต้นไม้ ใบหญ้า พฤติกรรมของสิงสาราสัตว์ ฯลฯ ปัจจุบันหน่วยงานสำคัญเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ มีเครื่องไม้เครื่องมือมากมาย  และมีการเผยแผ่ให้ได้รู้ทั่วกัน  ตามเวปไซด์ต่าง ตามทีวี วิทยุ ฯ นับว่าสะดวกสบายในการรับรู้ ในการศึกษาได้มาก  จนหลายคนไม่ได้สังเกตุธรรมชาติอีกเลย   ก็เสียดายครับเครื่องมือธรรมชาติ  แต่ก็อย่าประมาท  แม้ว่าจะมีเครื่องมือวิเศษเหล่านี้ให้ดู  แต่หากวันใด  วันหนึ่งไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ ก็คงมืดบอดลำบากน่าดูู  ยังไงก็อย่าลืมศึกษาธรรมชาติไว้บ้างครับ
    

    พื้นฐานวงจรอากาศทั่วไป


จากรูปข้างบน
  เขตุโซนร้อนเป็นเขตที่อยู่ระหว่าง 30 องศาเหนือ และ 30 องศาใต้ เป็นพื้นที่ที่ได้รับพลังความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์โดยตรง  อุณหภูมิโดยเฉลี่ยจากฤดหนาวไปอีกฤดูกาลหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก  ลักษณะอากาศในเขตโซนร้อนยังก่อให้เกิดพายหมุนซึ่งเป็นปัจจัยร่วมกับแนวลมค้าพัดเข้าหากัน  (Intertropical Convergence Zone – ITCZ) 

ลิงค์ http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets/document/lesa212/6/wind/wind/wind.html

ความกดอากาศสูงกึ่งโซนร้อน (sub tropical high pressure ) และความ แปรปรวนจากมหาสมทรในเขตุลมค้า   ทำให้การพัฒนาของพายหมุนไปสู่พายุไต้ฝุนทึ่มีความรุนแรงได้ ลักษณะอากาศที่สำคัญในเขตร้อนคือแนวการยกตัวของกระแส อากาศ  (ITCZ) เป็นผลทำาใหเกิด เมฆคิวมูลัสและคิวมูโลนิมบัส (เมฆก้อนและ เมฆฝนก้อน )


  
http://dli.taftcollege.edu/streams/geography/Animations/GlobalWindsV1.swf
                          Global  wind 1
http://dli.taftcollege.edu/streams/geography/Animations/GlobalWindsV2.swf
                       Global  wind 2

  คลิกที่รูปข้างบน..แล้วคลิกที่กล่องข้อความในรูป..ดูกราฟฟิคการไหลขของอากาศ
(ดูไม่ได้แล้ว) ต้นทางถอดออกไปแล้ว หรือมีปัญหาอะไรสักอย่าางครับ

วงจรแฮดเลย์ (Hadley Cell)
สภาพอากาศที่แถบละติจูดเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน  ได้รับอิทธิพลจากวงจรการพาความร้อน เริ่มจากอากาศร้อนชื้นลอยขึ้นจากเส้นศูนย์สูตรไปชั้นโทรโพพอสแล้วจึงถูกพาไปยังขั้วโลก    แต่เมื่อเดินทางไปได้หนึ่งในสามของระยะทางที่ไปยังขั้วโลก ประมาณเขตละติจูด 30 ถึง 60 องศาเหนือและใต้ อากาศร้อนจะเริ่มเย็นตัวและจมลง อากาศที่กำลังจมตัวบางส่วนจะเดินทางผ่านผิวโลกมายังเส้นศูนย์สูตร ครบรอบของวงจรแฮดเลย์ และทำให้เกิดลมค้า





ลมค้า (Trade Winds) 

คือ ลมที่พัดออกจากบริเวณความกดอากาศสูงกึ่งโซนรอน(sub tropical high pressure ) ไปยัง บริเวณความกดอากาศตำที่เส้นศูนยสูตร ในซีกโลกเหนือจะพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือ  สวนซีกโลกใต้จะมีลมค้าตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งจะนำความชื้นเข้ามา ทําให้มักมีฝนตกแถวชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปที่ตั้งอยู่ในเขตุร้อน ส่วนด้านตะวันตกของทวีปใน เขตุร้อน ได้รับความชื้นน้อยลง จึงมักจะแห้งแล้งกว่า หรือกลายเป็นทะเลทราย        แนว ITCZ บริเวณเส้น ศนย์สูตรซึ่งลมค้า (Trade Winds) จะพัดสอบเข้าหากัน      ทำใหเกิดเป็นแนวของความกดอากาศต่ํา    และมีการยกตัวของกระแสอากาศที่นำความชื้นเข้าไปก่อตัวเป็นเมฆฝนได้

ร่องความกดอากาศต่า (Low Pressure Trough)
จากแผนที่ความกดอากาศเท่า    คือบริเวณหรือแนวที่อยู่ระหว่างความกดอากาศสูงของทั้งสองซีกโลก เปรียบได้กับ แนวร่องเขาที่ทอดตัวอยู่ระหว่างเขาสูงวางตัวค่อนข้างจะเป็นตะวันตก-ตะวันออก มักลากเชื่อมระหว่างหย่อมความกดอากาศต่ำหลายๆหย่อม

ภาพจากกรมอุตุฯ ในแผนที่ผิวพื้น ลักษณะทึ่พบคือ เส้นคู่ที่ลากเชื่อมระหว่างหย่อมความกดอากาศต่ำ ระยะห่างของเส้นคู่ขนานไม่ได้กำหนดเป็นการเฉพาะอย่างชัดเจนขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามสเกลของแผนที่นั้น ๆ  โดยปกติจะห่างกัน ประมาณ 2 ละติจูด


ตัวอย่าง ลักษณะของลมฟ้าอากาศ

ความแรงของร่องความกดอากาศต่ำ
ขึ้นอยู่กับความแคบหรือถูกบีบจาก บริเวณความกดอากาศสูงจากทั้งสองซีกโลก ระยะห่าง ระหว่างหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือจำนวนหย่อมความกดอากาศต่ำที่ประกอบขึ้นเป็นร่องความกดอากาศต่ำ  

ลักษณะอากาศในแนวร่องความกดอากาศต่ำ
อากาศแปรปรวนมีการยกตัวได้ดี ทาให้แนวร่องมีเมฆก่อตัวดี ส่งผลให้มีเมฆมากและมีฝนตกได้มากกว่าพื้นที่อื่นๆ ที่อยู่นอกแนวร่องนี้ฝนที่ตกจะตกได้หลายเวลา ตกต่อเนื่อง และตกหนักได้บริเวณที่เป็นหย่อม ความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนตัว ตามแนวร่องจากตะวันออกไปตะวันตก



การเคลื่อนที่ของแนวร่องความกดอากาศต่ำ
จะเลื่อนขึ้นและเลื่อนลงตามแรงดันของบริเวณความกด อากาศสูงจากทั้งสองซีกโลก     โดยปกติจะเลื่อนจากใต้ขึ้นเหนือในช่วงต้นฤดฝน     จากอิทธพลของบริเวณความกดอากาศสูงจากซีกโลกใต้ที่ แรงขึ้น  และจะเลื่อนจากเหนือลงใต้ในช่วงปลายฤดฝนจากอิทธิพลของความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือ หลังจากที่เคลื่อนตัวขึ้นไปพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ร่องความกดอากาศต่ำอาจมีได้สองร่องเมื่อมีความกดอากาศสูงจากมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ามาแทรก ที่เราเรียกว่า Secondary Trough โดยตัวร่องหลักจะพาดอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ และร่องที่สองจะพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศไทยแต่มักจะมีกำลังไม่ค่อยแรง โดยวางตัวจากชายฝั่งประเทศอินเดียผ่านอ่าวเบงกอล  ประเทศไทยไปยังชายฝั่งประเทศเวียดนาม ลักษณะที่พบในแผนที่อากาศคือเส้นคู่ที่ลากเชื่อมระหว่างหย่อมความกดอากาศต่ำ ระยะห่างของเส้นคู่ขนานไม่ได้กำหนดขึ้นไว้เป็นการเฉพาะอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามเสกลของแผนที่นั้น ๆ ปกติจะห่างกันประมาณ 2 ละติจูด

http://www2.palomar.edu/users/pdeen/Animations/23_WeatherPat.swf
คลิกที่รูปข้างบน  ดูภาพกราฟฟิกการเปลี่ยนแปลงของ ฤดูกาล

ลิงค์ แอนนิเมชั่นอื่น  http://www.iesalbayzin.org/descargas/AnimacionesBio-Geo/WebCTMA/Monsoons.swf


ร่องมรสม (Monsoon Trough)

เป็นร่อง หรือ ทรอฟ (Trough) ที่เกิดขึ้นในกระแสลมชั้นบน   จากการพัดโค้ง (Cyclonic Curvature) หรือพัดเป็นวงก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง (Cyclonic Vortex) ของกระแสลมในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา(Couter clock wise .. CCW ) ในซีกโลกเหนือ    สามารถต่อเชื่อมเป็นแนวยาวที่เกือบจะเป็นตะวันตกตะวันออก เช่นเดียวกับร่องความกดอากาศต่ำ (เมื่อพิจารณาจากแผนที่ความกดอากาศเท่า) เส้นความกดอากาศเท่า หรือเส้นไอโซบาร์ (Isobar) เป็นเส้นโค้งที่ลากเชื่อมต่อบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน มีตัวเลขแสดงค่าความกดอากาศซึ่งมีหน่วยเป็น เฮคโตปาสคาล (hPa) กำกับไว้



ความแตกต่างของร่องมรสม และเขตุแนวพัดสอบ

เกือบจะเป็นตํวแปรเดียวกัน  ร่องมรสุมเกิดจากลมค้าทั้งสองพัดสวนทางกัน และ ก่อให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสลม  แต่เขตุแนวพัดสอบลมจะไม่มีการหมุน

ลักษณะของลมมรสุม
มรสุมมีกำลังอ่อน ลมเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึง ที่ระดับ 850 hPa ทำให้เกิดเมฆเดี่ยว มรสุมมีกำลังปานกลาง ลมเป็นทิศตะวันตกเฉียง ใต้ถึงที่ระดับ 700 hPa ทำใหเกิดเซลล์เมฆมากขึ้น มรสุมีมกำลังแรง ลมเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงที่ระดับ 300 hPa ทำให้เกิดเซลล์เมฆมากขึ้นโดย มากกว่ามรสุมมกำลังปานกลาง

ภาพลักษณะของร่องมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

ปัจจัยที่มีผลต่อมรสุมทีจะมีความแรงอย่างต่อเนื่อง
แหล่งพลังงานความร้อน    แหล่งความชื้น พิจารณาจาก Speed Convergence และ Speed Divergence



ความหมายของแผนที่อากาศ 

แผนที่อากาศคือแผนที่ที่ลงข้อมูลผลการตรวจอากาศ ณ ตำบลที่มีการ ตรวจอากาศชนิดต่าง ๆ ตามมาตรฐานขอกำหนดของการตรวจและ การสร้างแผนที่อากาศขององคการอุตุนิยมวิทยาโลก แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ คือ แผนที่อากาศชั้นบนและแผนที่อากาศ ผิวพื้น นอกจากนี้ยงสามารถแยกย่อยออกเป็นแต่ละรายละเอียดได้อีก มาก ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงคการใช้งานในแต่ละพ์้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น