วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ลักษณะของฝน

ลักษณะของฝน
วงจรของฝน..หรือการวนเวียนเปลี่ยนแปลงของสายน้ำ  ธรรมชาติอันแสนงาม  แม้ว่าคนเมืองใหญ่ คนเมืองกรุงไม่น้อยกลัวฝนเพราะทำให้รถติด หรือรถสกปรกหรือ?  แต่ก็มีคนอีกไม่น้อยที่ชอบฝน

ฝน..กว่าน้ำจะรวมตัวเป็นฝนได้ ต้องมีแกนควบแน่นให้ไอน้ำ เช่น เขม่าควัน  ละอองอากาศ (ฝุน เกสรดอกไม้ ไอเกลือทะเล ) สารเคมีซิลเวอร์ไอโอไดท์ (silver Iodide) ที่นำมาโปรยทำฝนเทียม      ซึ่งสารควบแน่นเหล่านี้มีขนาดเล็กมาประมาณ 0.0002 มิลลิเมตร หากปราศจากสารเหล่านี้แล้ว ไอน้ำบริสุทธิ์ก็ไม่สามารถควบแน่นเป็นของเหลวได้ แม้ว่าจะมีความชื้นสัมพัทธ์ 100% ก็ตาม เดี๋ยวนี้มีภาพกราฟฟิคให้ดูวงจรการไหลวนของน้ำ  ข้างล่างค รับที่ลิงค์   http://wps.aw.com/wps/media/objects/4893/5010916/animations/EarthWater.html


ในประเทศไทย พบหยาดน้ำฟ้าหลายแบบ ได้แก่

1. ฝน (Rain) เป็นหยดน้ำ มีขนาดประมาณ 0.5-5 มิลลิเมตร 

2. ฝนละออง (Drizzle) เป็นหยดน้ำขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร พบบ่อยบนยอดเขาสูง ตกต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมง 

3. ละอองหมอก (Mist) เป็นหยดน้ำขนาด 0.005-0.05 มิลลิเมตร มักพบตามยอดเขาสูง เมื่อเดินผ่านจะรู้สึกชื้น

4. ลูกเห็บ (Hail) เป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร เกิดจากกระแสในอากาศไหลขึ้นและไหลลง ทำให้ผลึกน้ำแข็งปะทะกับน้ำเย็นยิ่งยวด กลายเป็นก้อนน้ำแข็งห่อหุ้มกันเป็นชั้นๆ จนมีขนาดใหญ่และตกลงมา

สาเหตุของฝนที่ตกในประเทศไทย
ข้อมูลการวิเคราะห์จาก ดร. วัฒนา กันบัว (ภายในพื้นที่แรเงา)


การที่ประเทศไทยมีลักษณะเป็นคาบสมุทรมีทะเลขนาบทั้งสองข้างอย่างทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรอินเดีย จึงทำให้มีความชื้นผ่านไปมาค่อนข้างมาก   แต่ระบบของฝนบ้านเรามีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ได้แก่

- convective rainfall ต้องใช้ความช่มชื้นในท้องถิ่นได้แก่ต้นไม้ป่าไม้ในการก่อตัวของเมฆ และฝน และป่าไม้ต้นไม้ยังดักจับความชื้นที่ผ่านมาจากลมมรสุมได้ด้วย

- Orographic rainfall หรือบางคนเรียกว่าฝนภูเขาเกิดจากลมที่พัดเอาความชื้นจากทะเล ปะทะชายฝั่งที่มีภูเขาสุงข้างกัน และทำให้เกิดการยกตัวของกระแสอากาศจนก่อให้เกิดเมฆ และฝน เฉพาะบริเวณหน้าเขา แต่เมื่ออากาศข้ามเขาไปอากาศก็จะจมตัวทำให้ไม่เกิดเมฆ และฝน หรือเราเรียกว่าพื้นที่อับฝน อันนี้ไม่ต้องการป่า แต่ฝนตกมากป่าก็มาเอง

- Frontal rainfall เป็นแนวปะทะของอากาศร้อนกับอากาศเย็นก็จะทำให้เกิดเมฆและฝน ฝนแบบนี้ไม่ต้องการป่า

- ร่องมรสุม หรือ ITCZ หรือบางคนเรียกว่าร่องฝน เกิดจากลำแสงของด้วยอาทิตย์ที่ทำมุมตั้งฉากกับโลกที่เอียงเข้าหาและออกจาก ด้วยอาทิตย์ทำให้เป็นแนวของหย่อมความกดอากาศต่ำพาดไปทั่วโลก และจะมีความแตกต่างกันของตำแหน่งการพาดผ่านของร่องมรสุมในแต่ละเดือน ฝนแบบนี้มีลักษณะคล้าย convection rainfall แต่ไม่จำเป็นต้องมีป่า เคยทำโคราชท่วมทั้งเมืองมาแล้ว เคยทำหาดใหญท่วมทั้งเมืองมาแล้ว

- การเคลื่อนตัวของพายุหมุนเขตร้อน เข้ามาสู่ประเทศ ได้ฝนมากจนเกินเสมอนะครับ แบบนี้ไม่ต้องมีป่า

- Westerly wave หรือคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก ที่มักจะพาดผ่านภาคเหนือ และภาคอีสาน ฝนที่ได้แบบนี้ก้ไม่ต้องการป่า

- Easterly wave หรือคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออก ลักษณะมันจะคล้ายกับพายุหมุนเขตร้อนคือเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงมา จากทะเล ฝนแบบนี้ไม่ต้องการป่า

- Convergence zone หรือพื้นที่ที่มีความชื้นระดับบนพัดสอบเข้าหากันในบางพื้นที่ ที่จะทำให้เกิดเมฆ และฝน แบบนี้ก็ไม่ต้องการป่า




BX.in.th Bitcoin Exchange Thailand




การเรียกฝนตกอย่างเป็นทางการ
จากมติที่ประชุมนักพยากรณอากาศกรมอุตุนยมวิทยา โดยเรือเอกสุกิจ  เย็นทรวงผนา เสนอ วิธีเรียกลักษณะฝนที่ตก สามารถจาแนกเป็นข้อๆได้ดังนี้

1.ฝนมรสุมและฝนภูเขา (Monsoon rain) จะตกเป็นเวลาประจํา มีปริมาณตั้งแต่เลก็นอยถึง ปานกลาง เว้นแต่ฝนที่ลงแรงมาก(  Monsoon Surge) ซึ่งตกไม่เป็นเวลาที่แน่นอน สวนใหญฝนมรสุมตกใน ตอนบ่ายถึงค่ำไมเกิน 2 ชั่วโมง สวนฝนภูเขาอาจตกนานกว่าขึ้นอยูกับกระแสลม ฝนจากช่วง ลมมรสุมก้าลงแรงมากมักจะตกหนกแต่ช่วงสั้นๆ

2.ฝนร่องมรสุม ตกไมเป็นเวลาและปริมาณที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแนวปะทะ

3.ฝนที่เกิดจากแนวปะทะอากาศเย็น จะมีฝนฟ้าคะนองรุนแรง

4.ฝนที่เกิดจากคลื่นกระแสลมตะวันตก (  Westerly Trough) จะมีพายุฝนฟ้าาคะนองรุนแรง บางครั้งมีลมงวงช้างหรือพายุทอร์นาโด ขนาด (F1) รวมด้วย ถ้ามีคลื่นกระแสลมตะวันออก( Easterly Wave) เขามาผสมด้วยอาจทำใหเกิดฝนตกหนัก และเกิดน้ำทว่มบางแห่ง  ตกใช้ช่วงเวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง ส่วนมากเกิดบ่าย-ค่ํา แตอาจเกิดได้ทุกเวลา

 5.ฝนทีเกิดจากคลื่นกระแสลมตะวันออก  ( Easterly Wave) เป็นฝนที่ตกปรอยๆ ไม่ค่อยมีลมกระโชกและมีปริมาณพอสมควรตกแต่เล็ก้นอยถึงปานกลาง ก่อนมีฝนมา ท้องฟากระจ่าง อากาศจะร้อนมาก 

6.ฝนที่เกิดจากพายุไซโคลน ตั้งแต่ความกดอากาศต่ำจนถึงพายุไต้ฝุน จะมีฝนตกหนัก  พายุ รุนแรง และเกิดน้ำป่าและอุทกภัย ที่แตกต่างจากสาเหตุอื่นๆคือ จะมีฝนตกมาเป็นระลอกๆ 7.  ฝนตกตามกระแสลมวน (Feeder Ban) เข้าหาศูนย์กลาง ถ้ามีปรากฏให้เหน พึงระวัง เพราะจะไม่หายไปงายๆ การแยกแยะลักษณะของฝนเช่นนี้เพื่อประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศการบิน ในการให้ คำแนะนาแก่หอบังคับการบิน หากมีพายุฝนฟาคะนองเกิดขึ้นใกล้สนามบินไม่ควรให้เสี่ยงในการ นำเครื่องบินลง  สมควรให้รอโดยการบินวนรอบๆ หรือ ให้นำเครื่องบินไปลงสนามบินใกล้เคียง....  ดูตัวอย่างคลิปอากาศมรสุม





เกณฑ์ปริมาณฝน
1. ฝนเล็กน้อย(Light Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร ถึง 10.0 มิลลิเมตร
2. ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตร ถึง 35.0 มิลลิเมตร
3. ฝนหนัก(Heavy Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35.1 มิลลิเมตร ถึง 90.0 มิลลิเมตร
4. ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตร ขึ้นไป

เกณฑ์การกระจายของฝน
1. ฝนบางพื้นที่(Isolated) หมายถึง มีฝนตกน้อยกว่า 20% ของพื้นที่
2. ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40% ของพื้นที่
3. ฝนกระจาย(Scattered) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 40% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60% ของพื้นที่
4. ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 60% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80% ของพื้นที่
5. ฝนทั่วไป(Widespread) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 80% ของพื้นที่ ขึ้นไป

ฝนจากมรสุม
ลักษณะของลมมรสุม ที่พัดปะจำปีก็เป็นปัจจัยคัญที่ทำให้ฝนตกมี 3 ระดับ คือ
มรสุมมีกำลังอ่อน  จะลมเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึง ที่ระดับ 850 hPa (สูงประมาณ 1.5 กม.จากพื้นดิน ) ทำให้เกิดเมฆเดี่ยว
มรสุมมีกำลังปานกลาง ลมเป็นทิศตะวันตกเฉียง ใต้ถึงที่ระดับ 700 hPa (สูงประมาณ 3.5 กม. ) ทำใหเกิดเซลล์เมฆมากขึ้น
มรสุมีมกำลังแรง ลมเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้ถึงที่ระดับ 300 hPa(สูงประมาณ 7.5 กม. ) ทำให้เกิดเซลล์เมฆมากขึ้นโดย มากกว่ามรสุมมกำลังปานกลาง

 ลักษณะของฝนตกที่เรียกแบบพื้นบ้าน

ฝนตกมีหลายแบบ  คนเฒ่าคนแก่มักจะเรียกลักษณะฝนตามภาษาถิ่น ผมอยู่ทางทางภาคใต้  คนเฒ่าคนแก่เรียกลักษณะฝนที่ตก เช่น
ฝนตกส็อกแส็ก(ตกไม่หนัก แต่ตกไม่หยุด)
ฝนพะ (ฝนที่ตกนานมากๆตอนเข้าหน้าฝนฝนพะทางภาคใต้ จะตกติดต่อกันหลายวัน )
ฝนห่าแก้ว.. หมายถึงลูกเห็บแต่นานหลายปีมากๆทางภาคใต้จึงจะมี ฯ
ฝนพลัด (ภาษาใต้ ) คือฝนที่มาจากทิศตะวันตก เริ่มจากฝนเดือนหก 
ฝนนอก  (ภาษาใต้ ) คือฝนที่มาจากทิศตะวันออก หรือเป็นฝนเดือนอ้าย  

ฝนที่ทางภาคอื่นเรียก (จากเฟสบุ๊คชมรมคนรักมวลเมฆ ) เช่น
ภาษา เหนือ ถ้าตกพรำๆ : "ฝนตกซิๆ" ตกหนักคือ ตกซึกๆ ถ้าตกหนักมากๆๆ คือ ฝนตกฮั่งๆ (หรือบั้งๆ) แต่มีบางท่านจาก จ.ลำปางบอกว่า "ฝนตกต๊าดๆ" คือฝนตกหนักมากๆ

เพชรบุรี บอกว่าฝนตก "สิมๆ" อีกคนจ.สระบุรีบอกว่า ฝนตก "รินๆ" ก็คือฝนตกโปรยๆ
ฝน ไล่ช้าง (ภาคกลาง) อันนี้เรียกเป็นทางการเป็นฝนตกหนักมากๆในซู่สั้นๆฯ ฝนซู่มักตกและหยุดอย่างฉับพลันและมีการเปลี่ยนแปลงความแรงของฝนอย่างรวดเร็ว

2 ความคิดเห็น:

  1. มีแหล่งอ้างอิงไหมครับ

    ตอบลบ
  2. เขียนเล่นๆ ทำเล่นๆ นะครับ ไม่ได้เป็นบล็อกวิชาการ
    ..ส่วนที่เป็นทฤษฎีก็บอกไว้ว่ามาจาก ดร.วัฒนา กันบัว ผอ.อุตุฯทางทะเล เรื่องเล่า เรื่องที่เจอเองก็ไม่รู้จะอ้งอิงกับอะไร ส่วนเรื่องลิงค์นั้น .. หลายลิงค์นานๆก็มักหายไป ผมเองก็ไม่ค่อยได้เข้ามาดูเท่าไหร่ครับ

    ตอบลบ