วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ชั้นของลมในระบบอุตุนิยมวิทยา

ชั้นบรรยากาศเบื้องต้น ก่อนที่จะเข้าใจเรื่อง ชั้นของลมในระบบอุตุนิยมวิทยา  เราต้องทำความเข้าใจกับชั้นบรรยากาศพื้นฐานของโลกก่อนเป็นเบื้องต้นก่อนนะครับ

                                   



ระดับความสูงของชั้นบรรยากาศ (กม.)

1.ชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) 0-12 กม.จากพื้นโลก เป็นชั้นที่อยู่ใกล้โลกที่สุดประกอบด้วยไอน้ำมากมายมหาศาล และ ก่อให้เกิดเมฆ หมอก ฝน และน้ำฟ้าต่างๆ ระบบอุตุนิยมวิทยา จะใช้ชั้น โทรโมสเฟียร์นี้เป็นหลักในการพยาการณ์อากาศ

2.ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere)12-50 กม.มีไอน้ำเล็กน้อย ไม่มีเมฆ อากาศมีการเคลื่อนตัวอย่าวช้าๆ จึงเหมาะกับการเดินทางทางอากาศ แก๊สสำคัญในชั้นนี้ คือ แก๊สโอโซน
 ซึ่งช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิของชั้นนี้อยู่ระหว่าง -60 ถึง 10 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น

3. ชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) 50-80 กม.  มีอากาศเบาบางมาก แต่ก็มากพอที่จะทำให้ดาวตกเกิดการเผาไหม้ และเป็นชั้นที่ช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิในชั้นนี้จะลดลงมาอยู่ที่ -120 องศาเซลเซียส

4. ชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere)80-700 กม. มีอากาศเบาบางมากกว่าชั้นมีโซสเฟียร์ แต่เป็นชั้นหลักที่ช่วยดูดซับรังสี UV จากดวงอาทิตย์ ทำให้มีอุณหภูมิในชั้นนี้มากถึง 2,000 องศาเซลเซียส ที่ระดับความสูง 700 กม. อนุภาคในชั้นนี้เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า "อิออน" ที่เกิดจากการแตกตัว เมื่ออนุภาคในสภาวะปกติถูกกระตุ้นด้วยรังสี  UV จากดวงอาทิตย์ อิออนเหล่านี้จะมีคุณสมบัติสะท้อนคลื่นวิทยุได้ จึงเป็นชั้นที่ใช้ส่งสัญญาณวิทยุสื่อสาร รวมถึงการเกิดแสงเหนือและแสงใต้ หรือ "ออโรรา"

5. ชั้นเอ็กโซสเฟียร์ (Exosphere)700-800 กม.อากาศค่อยๆ เจือจางลง เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น และเจือจางจนเข้าสู่อวกาศ 

ลิงค์เพิ่มเติม.... http://www.lesa.biz/earth/atmosphere/atm-structure
ระบบอุตุนิยมวิทยา 

ระดับชั้นของลมหรืออากาศ ที่ใช้ในระบบอุตุนิยมวิทยา จะใช้ชั้น โทรโมสเฟียร์เป็นหลักในการพยาการณ์อากาศ โดยแบ่งระดับชั้นของลมตามความกดอากาศ มีหน่วยเป็น  เฮกโตปาสคาล  โดยที่มีความกดอากาศ: 1 hectopascal (hPa) ≡ 1 millibar (mb) ในปัจจุบันนักอุตุนิยมวิทยาใช้คำว่า เฮกโตพาสคาล (Hecto Pascalเขียนย่อว่า hPa) แทนคำว่า มิลลิบาร์ แต่แท้จริงแล้วทั้งสองคือหน่วยเดียวกัน 1 เฮกโตปาสคาล = 1 มิลลิบาร์ = แรงกด 100 นิวตัน/พื้นที่ 1 ตารางเมตร  โดยที่แรง 1 นิวตัน คือ แรงที่ใช้ในการเคลื่อนมวล 1 กิโลกรัม ให้เกิดความเร่ง 1 (เมตร/วินาที)/วินาที 

มีระดับที่ใช้งานทั่วไปตามระดับความสูงดังนี้ 

surface  = ชั้นระดับพื้นผิวน้ำทะเล 1000 hPa | สูงขึ้นไปประมาณ 100 เมตร จากระดับน้ำทะเล

925  hPa | ~600 m, จากระดับน้ำทะเล

850  hPa | ~1,500 เมตร, ชั้นนี้ถือเป็นชั้นเมฆฝน

700  hPa | ~3,500 m, planetary boundary, high

500  hPa | ~5,000 m, vorticity

250  hPa | ~10,500 m, jet stream

70  hPa | ~17,500 m, stratosphere

10  hPa | ~26,500 m, even more stratosphere

--------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น