วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ชนิดของเมฆ

เมื่อสมัยยังเป็นเด็กเล็กๆ เคยถามคนเฒ่าคนแก่ว่าเมฆมาจากไหน คนเฒ่าบอกว่า เมฆคือขี้ลม ลมขี้เอาไว้ออกมาเป็นเมฆ เมื่อก่อนฟังแล้วก็ดูตลกดี  หากเป็นเด็กสมัยนี้ก็คงจะว่าคนเฒ่าคนแก่โง่ งมงาย  แต่หากพิจรณาอย่างแยบคายในแง่มุมปรัชญา โลกธาตุก็เป็นเรื่องจริง แต่เรื่องโลกธาตุสมัยนี้ก็ไม่มีใครรู้จักแล้ว  เอาตามแบบปัจจุบันดีกว่าว่าเมฆชนิดต่างๆ ที่เราเห็นบนท้องฟ้า มีกี่แบบกันแน่ เท่าที่ศึกษามาพอจะสรุปได้ว่า

เมฆชนิดต่างๆ
เมฆซึ่งเกิดขึ้นในธรรมชาติมี 2 รูปร่างลักษณะคือ เมฆก้อน และเมฆแผ่น กระจายอยู่หลายชั้นตามความสูงของชั้นบรรยากาศ ดังนี้

ภาพต้นฉบับจากเวปไซด์ http://www.thaiglider.com/th/story/29-cloud.html

เราเรียกเมฆก้อนว่า “เมฆคิวมูลัส” (Cumulus) และเรียกเมฆแผ่นว่า “เมฆสเตรตัส” (Stratus) หากเมฆก้อนลอยชิดติดกัน เรานำชื่อทั้งสองมารวมกัน และเรียกว่า “เมฆสเตรโตคิวมูลัส” (Stratocumulus) ในกรณีที่เป็นเมฆฝน เราจะเพิ่มคำว่า “นิมโบ” หรือ “นิมบัส” ซึ่งแปลว่า “ฝน” เข้าไป เช่น เราเรียกเมฆก้อนที่มีฝนตกว่า “เมฆคิวมูโลนิมบัส” (Cumulonimbus) และเรียกเมฆแผ่นที่มีฝนตกว่า “เมฆนิมโบสเตรตัส” (Nimbostratus)

     ตัวอย่างคลิปวิดีโอเรื่องเมฆ ทีอธิบายไว้ได้ดี เข้าใจได้ง่าย



เมฆแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
เมฆชั้นต่ำ เมฆชั้นกลาง และ เมฆชั้นสูง (ภาพจากเฟสบุ๊ค เตือนภัยฯ/กู้ภัย (วิชาการ )

เมฆชั้นต่ำ (สูงไม่เกิน 2 กิโลเมตร)

เมฆชั้นกลาง (2 - 6 กิโลเมตร) เราจะเติมคำว่า “อัลโต” ซึ่งแปลว่า “ชั้นกลาง” ไว้ข้างหน้า เช่น เราเรียกเมฆก้อนชั้นกลางว่า “เมฆอัลโตคิวมูลัส” (Altocumulus)  และเรียกเมฆแผ่นชั้นกลางว่า “เมฆอัลโตสเตรตัส” (Altostratus)

 เมฆชั้นสูง (6 กิโลเมตรขึ้นไป) เราจะเติมคำว่า “เซอโร” ซึ่งแปลว่า “ชั้นสูง” ไว้ข้างหน้า เช่น เราเรียกเมฆก้อน ชั้นสูงว่า “เมฆเซอโรคิวมูลัส” (Cirrocumulus)    เรียกเมฆแผ่นชั้นสูงว่า “เมฆเซอโรสเตรตัส” (Cirrostratus)  และเรียกเมฆชั้นสูง ที่มีรูปร่างเหมือนขนนกว่า “เมฆเซอรัส” (Cirrus)

เมฆก่อตัวในแนวตั้ง (Clouds of Vertical Development) 


เมฆคิวมูลัส (Cumulus) 

เมฆก้อนปุกปุย สีขาวเป็นรูปกะหล่ำ ก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศไม่มีเสถียรภาพ ฐานเมฆเป็นสีเทาเนื่องจากมีความหนามากพอที่จะบดบังแสง จนทำให้เกิดเงา มักปรากฏให้เห็นเวลาอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม 


เมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) 

เมฆก่อตัวในแนวตั้งที่ พัฒนามาจากเมฆคิวมูลัส   เป็นเมฆมีขนาดใหญ่อลังการณ์มากอาจปกคลุมพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด  ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากกระแสลมชั้นบนพัดแรง ก็จะทำให้ยอดเมฆรูปกะหล่ำ กลายเป็นรูปทั่งตีเหล็ก ต่อยอดออกมาเป็น เมฆเซอโรสเตรตัส หรือเมฆเซอรัส 


ตัวอย่างการเกิดเมฆฝนประเภทต่างๆ 


ภาพจากเฟสบุ๊ค (ลอกมาจากเฟสบุ๊ค ดร.วัตนาฯ  )  ดูภาพเพิ่มเติมจาก fb ดร. วัฒนา 


 เมฆตามแนวภูเขา 

 
เมื่อกระแสลมปะทะภูเขา อากาศถูกบังคับให้ลอยสูงขึ้น (เนื่องจากไม่มีทางออกทางอื่น) จนถึงระดับควบแน่นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ดังเราจะเห็นได้ว่า บนยอดเขาสูงมักมีเมฆปกคลุมอยู่ ทำให้บริเวณยอดเขามีความชุ่มชื้นและอุดมไปด้วยป่าไม้ และเมื่อกระแสลมพัดผ่านยอดเขาไป อากาศแห้งที่สูญเสียไอน้ำไป จะจมตัวลงจนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ภูมิอากาศบริเวณหลังภูเขาจึงเป็นเขตที่แห้งแล้ง เรียกว่า “เขตเงาฝน” (Rain shadow)

การเกิดเมฆ จากแนวปะทะ ของอากาศ (cold front / warm front) 


อากาศร้อนมีความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศเย็น เมื่ออากาศร้อนปะทะกับอากาศเย็น อากาศร้อนจะเสยขึ้น และอุณหภูมิลดต่ำลงจนถึงระดับควบแน่น ทำให้เกิดเมฆและฝน ดังเราจะเคยได้ยินข่าวพยากรณ์อากาศที่ว่า ลิ่มความกดอากาศสูง (อากาศเย็น) ปะทะกับลิ่มความกดอากาศต่ำ (อากาศร้อน) ทำให้เกิดพายุฝน

  เมฆจาก อากาศบีบตัว (convergence)


เมื่อกระแสลมพัดมาปะทะกัน อากาศจะยกตัวขึ้น ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงจนเกิดอากาศอิ่มตัว ไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นหยดน้ำ กลายเป็นเมฆ

   เมฆ จากการพาความร้อน (thermal) 



พื้นผิวของโลกมีความแตกต่างกัน จึงมีการดูดกลืนและคายความร้อนไม่เท่ากัน จึงมีผลทำให้กลุ่มอากาศที่ลอยอยู่เหนือมัน มีอุณหภูมิแตกต่างกันไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน (ตัวอย่างเช่น กลุ่มอากาศที่ลอยอยู่เหนือพื้นคอนกรีตจะมีอุณหภูมิสูงกว่ากลุ่มอากาศที่ลอยอยู่เหนือพื้นหญ้า) กลุ่มอากาศที่มีอุณหภูมิสูงมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศในบริเวณโดยรอบ จึงลอยตัวสูงขึ้น ดังเราจะเห็นว่า ในวันที่มีอากาศร้อน นกเหยี่ยวสามารถลอยตัวอยู่เฉยๆ โดยไม่ต้องขยับปีกเลย


ดูต่อ : เรื่องฝน 


            ลิงค์เพิ่มเติมเรื่องเมฆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น