วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2560

สถิติน้ำท่วมกรุงเทพฯ

เหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เท่าที่พอมีบันทึกไว้   ได้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว   ได้รวบรวมมาจากเวปไซด์หลายที่ และจากที่เคยได้พบเจอด้วยตัวเอง  พอสรุปได้สั้นๆดังนี้

1.น้ำท่วม ปีมะเส็ง ปี 2328 ในรัชกาลที่ 1 ปีที่สร้างกำแพงพระนครและพระราชวังกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จ ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว


         พระรูปทรงม้า 23 ต.ค. 2485
        อนุสาวรีย์  ปชต. 12 ต.ค. 2485
          สนามหลวง13 ต.ค. 2485
        อนุสาวรีย์ชัย 14 ต.ค. 2485
               
      2 ตค. 2362จากบล็อกแกงค์
             หัวลำโพง17 ต.ค. 2485
ภาพจาก นสพ.ผจก ออนไลน์ http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000133431 จากบล็อกแกงค์ 1
กดที่รูปเพื่อขยาย



2.น้ำท่วม เดือนตุลาคม ปี 2362 ในรัชกาลที่ 2 ข้าวยากหมากแพงเหมือนครั้งแรก

3.น้ำท่วม เดือนพฤศจิกายน ปี 2374 ในรัชกาลที่ 3 ท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง

4.น้ำท่วม ปี 2460 ในรัชกาลที่ 6 น้ำท่วมลานพระบรมรูปทรงม้า จนมีกิจกรรมการแข่งเรือกันได้

5.น้ำท่วม ปี 2485 เริ่มท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน 2485  น้ำท่วมมากกว่าปี 2460 เกือบเท่าตัว เนื่องจากฝนตกหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงมาก ไหลล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่ง วัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง

คลิปน้ำท่วมสนามบินดอนเมือง พศ. 2554 


6.น้ำท่วม ปี 2518 พายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพฯ

7.น้ำท่วม ปี 2521 เกิดจากพายุ 2 ลูกคือ “เบส” และ “คิท” พาดผ่าน และมีน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักในปริมาณมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพฯ

8.น้ำท่วม พ.ศ. 2523 เกิดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับ สูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 4 วัน สูงถึง 200 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง


9.น้ำท่วม ปี 2526 น้ำท่วมรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือและภาคกลางช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ช่วงเดือนตุลาคม วัดปริมาณฝนทั้งปี 2119 มม. มีปัญหาจราจรที่รถกับเรือใช้เส้นทางเดียวกัน   ทำให้กรุงเทพฯต้องตกอยู่ในสภาพนํ้าท่วมสูงกว่า1 เมตรนานหลายเดือน..ปีนี้ข้าพเจ้า นายปรีดี ผู้เขียน เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯ  ได้ไปที่บ้านเพื่อน  ที่ย่านหัวหมาก บางกะปิ น้ำท่วมเน่าเหม็นมาก ส้ม หองน้ำ ใช้ไม่ได้  สิ่งปฏิกูลลอยเกลื่อน

10.น้ำท่วม พ.ศ. 2529 ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 – 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่

11.น้ำท่วม ปี 2533 ในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน “อีรา” และ “โลล่า” พัดผ่านภาคอีสาน ทำให้ฝนตกหนักในกรุงเทพฯถึง 617 มม.

12.น้ำท่วม ปี 2537 เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพฯและปริมณฑลเมื่อ 7-8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนมากที่สุดที่เขตยานนาวา 457.6 มม. โดยเฉลี่ยทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกกันว่า “ฝนพันปี” ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนทั่วกรุงเทพมหานคร ตรงนี้จำได้วันนั้น  จัดงานเลี้ยงรุ่นฯเทคโนสงขลา  ที่ โรงแรม รีเจนท์ ประตูน้ำ ช่วงดึกออกมา กทม.มีแต่น้ำ    ต้องเดินจากประตูน้ำ มาขึ้นรถ ที่หน้าเซ็ลทรัลลาดพรา้ว เพื่อกลับหลักสี่

13.น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ “โอลิส” ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 – 100 ซ.ม.

ปีนี้ข้าพเจ้าอยู่ที่หลักสี่  น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเยอะมาก  บ้านเพื่อนที่ฝั่งตรงข้าม ปากเกร็ด ห่างแม่น้ำไปราว 2 กม.เศษ น้ำท่วมราว 2 เดือน จนต้องไปซื้อบ้านในสถานที่ใหม่ ที่คิดว่าน้ำท่วมไม่ถึง  แต่สุดท้าย กไม่รอด  ปี 2554 บ้านเพื่อนผมจมเหมือนเดิม

14.นํ้าท่วมปี 2549 เกิดอุทกภัยใน 47 จังหวัด ทั่วประเทศ ส่งผลให้หลายพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง ประกอบกับมีการผันน้ำเข้าเก็บกักเอาไว้ในพื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำ ท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี และปทุมธานี รวมประมาณ 1.38 ล้านไร่ ต่อมาจังหวัดดังกล่าวไม่สามารถรับนํ้าได้ไหว นํ้าจึงไหลเข้าท่วมขังที่กรุงเทพฯ เกือบ 1 เมตร นานกว่าสัปดาห์


             ทางเข้าศูนย์ราชการ (ข้าง CAT)
                 นั่งรถทหารไปทำงาน 1 เดือนเต็มๆ
           ซอย 5 ข้างแฟล็ต กสท. วันนี้น้ำยังไม่มาก เท่าไหร่
           ซอย 5 ข้างแฟล็ต กสท. วันนี้น้ำยังไม่มาก เท่าไหร่



15.นํ้าท่วมปี 2554  ถือกันว่า  น้ำท่วมใหญ่สุด   ตอนนั้นข้าพเจ้าอาศัยอยู่ที่แฟล็ต  กสท.หลักสี่   ต้องนั่งรถทหาร  ไปทำงานที่ จ.นนท์ 1 เดือนเต็มๆ   น้ำท่วมครั้งนี้นิยมเรียกกันว่า มหาอุทกภัย พายุหมุนนกเต็นขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเวียดนาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นอุทกภัยรุนแรงที่ส่งผลกระทบ

โดยน้ำท่วมครั้งนี้ เริ่มจากทางภาคเหนือ จ.นครสวรรค์  ค่อยๆลงมาทางภาคกลาง พังมาเป็นแถบๆ ท่วมหมด ทุกจังหวัด 2 ฝั่งเจ้าพระยา   สนามบินดอนเมืองน้ำท่วมสูงถึง 3 เมตร   นับเป็นความเสียหายครั้งใหญ่หลวงของประเทศไทย

ลิงค์น้ำท่วมปี 2557 นสพ.ไทยรัฐ  http://www.thairath.co.th/content/463577
รวมภาพน้ำท่วมปี 2554  http://www.photoontour.com/Event02/Bangkok_flood_2011_main/main_bangkok_floods_2011.htm



4 ความคิดเห็น:

  1. น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี2529มันวันที่25เมษายน2529เวลา24.00มันไม่พายุเเต่ฝนตกหนักเองโดยไม่ทราบสาเหตุเหตุการณ์ครั้งจำลองศรัเมืองลงพื้นที่

    ตอบลบ
  2. Pear13 มีนาคม 2564 05:50
    น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี2529มันวันที่25เมษายน2529เวลา24.00มันไม่พายุเเต่ฝนตกหนักเองโดยไม่ทราบสาเหตุเหตุการณ์ครั้งจำลองศรีเมืองเลงพื้นที่อยู่เคยอ่าน

    ตอบลบ
  3. เวียร์ศุกลวัฒน์เตรียมเปิดกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ถ้ำหลวง13หมูป่ารับบทจ่าเชนเป็นภาพยนตร์ประเทศติดตามweri19

    ตอบลบ
  4. น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี2529มันวันที่25เมษายน2529เวลา24.00มันไม่มีพายุเเต่ฝนตกหนักเองโดยไม่ทราบสาเหตุเหตุการณ์ครั้งนั้นจำลองศรีเมืองลงพื้น

    ตอบลบ