วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

สถิตน้ำท่วมภาคใต้

น้ำท่วมภาคใต้  จากหลายแหล่งข้อมูล  เรียงจากปัจจุบันไปอดีต

น้ำท่วมใหญ่ภาคใต้ รอบ 2 ต้นเดือน มค.ปี 2560 
2 มค. 2560 แบบจำลองอากาศของ ECMWF ตรวจพบความกดอากาศต่ำ กำลังแรงที่ทะเลที่อันดามัน เหนือเกาะสุมาตราและคาดการณ์ให้พัตนาเป็นไซโคลน  เข้าเมืองย่างกุ้งประเทศพม่าในวันที่ 8 มค. พศ.2560   แต่เรื่องจริงๆ ต่อมาคือ  หย่อมอากาศต่ำ ไม่ยอมเป็นพายุ  ยังเป็นแค่ความกดอากาศต่ำกำลังแรง    ทีคอยๆ ขยับเลียบชายฝั่งทะเลอันดามันขึ้นมาถึง ทะเลนอกฝั่งเหนือระนอง  คอยดึงน้ำจากอันดามัน  จากอ่าวไทยมารดภาตใต้   ตั้งแต่นราธิวาส ถึงประจวบคิรีขัน   และเข้าทางพม่า สิ้นสุดและสลายตัว แต่ฝนก็ขยับขึ้นมาตกถึงกรุงเทพฯ ภาคกลาง เหนือ และอิสาน  ดันจากใต้ขึ้นเหนือ


แผนที่ความกดดอากาศเท่าของกรมอุตุฯ วันที่ 4 มค. 2560 วาดเป็นความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ จากการบีบของความกดอากาศสูงจากซีกโลกใต้    ในขณะที่ความกดอากาศสูงจากซีกโลกเหนือตอนบนของประเทศไทยก็กดลงมา บีบเข้าหาภาคใต้ กลายเปนร่องฝนขนาดใหญ่


หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ปกคลุมพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 19-23 พ.ย. 56 ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี
สงขลา พัทลุง ตรัง ปัตตานี นราธิวาส





ปี พ.ศ. 2376 (ในรัชกาลที่ 3) น้ำท่วมใหญ่ จนท้องนาของราษฎรทำนามิได้ พระยาสงขลา รีบเข้ากรุงเทพ นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วขอรับพระราชทานซื้อข้าวสารออกมาเจือจานราษฎรในเมืองสงขลา 1000 เกวียน

น้ำท่วมปี 2452 ตามบันทึกฝนตก ๒๕ พ.ย. ๒๔๕๒ รวม 6 วันราว 2600 มม.โดยที่ฝนตกภาคใต้ฝั่งตะวันออก (นครศรีฯ)พร้อมกับภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ตรัง.. ดูบันทึกท้ายบท)

ปี พ.ศ. 2505 (วันที่ 28 - 30 ตุลาคม) นครศรีฯ แหลมตะลุมพุก พายุโซนร้อนและฝนตกหนัก ตายเป็นประวัติการณ์ พายุโซนร้อนจมเรือประมงนับสิบ คนตายนับร้อย

ปี พ.ศ. 2509 (วันที่ 7 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา น้ำท่วมหาดใหญ่ เสียหายนับล้านๆ บาท ทางรถไฟขาด ถนนถูกน้ำท่วมมิด ต้องใช้เรือยนต์วิ่งรับคนโดยสาร ตลาดทุกแห่งปิดตัวเอง ร้านค้าถูกน้ำท่วม สินค้าเสียหาย มีฝนตกอย่างหนักติดต่อกันหลายวัน น้ำไหลบ่าเข้าท่วมอำเภอหาดใหญ่และรอบนอก สวนยางจมอยู่ในน้ำ น้ำสูงสุดถึง 1.50 เมตร (ในตัวเมืองหาดใหญ่) ราษฎรนับเป็นหมื่นคนกำลังขาดแคลนอาหารบริโภค ทางรถไฟระหว่างสถานีบางกล่ำ-ดินลาน ขาด 15 เมตร ถนนหาดใหญ่-ตรัง ขาด น้ำท่วมมิด

ปี พ.ศ. 2512 (วันที่ 1 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา น้ำท่วมเมืองนาน 10 ชั่วโมงเส้นทาง หาดใหญ่-สงขลา น้ำท่วม 9 ตอน ถนนเสียหาย สนามบินน้ำท่วม เครื่องบินลงไม่ได้ บ้านเรือนราษฎรในที่ลุ่มรอบอำเภอหาดใหญ่ ถูกน้ำท่วม ถนนหาดใหญ่ -นาทวี-สะเดา น้ำท่วมหลายตอน / เช็คดูข้อมูลแล้ว จ.ตรัง ก็น้ำท่วมเยอะเช่นกัน




ปี พ.ศ. 2516 (วันที่ 10-12 ธันวาคม) พายุฝนตกหนักกระหน่ำติดต่อกันอย่างรุนแรงเป็นเวลา นาน 4 วัน เป็นเหตุให้น้ำบ่าเข้าท่วม ถนนสายต่าง ๆ ในอำเภอหาดใหญ่ การจราจรหยุดชงัก

ปี พ.ศ. 2517 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) พายุฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน 5 วัน บริเวณรอบ อำเภอหาดใหญ่ถูกน้ำท่วม น้ำสูงบนถนนวัดได้ถึง 50 ซม.

ปี พ.ศ. 2518 น้ำท่วมภาคใต้ 2 ครั้ง (ต้นปีวันที่ 5-17 มกราคม และปลายปี 6-9 พฤศจิกายน)
จังหวัดสงขลา ที่หาดใหญ่ น้ำบ่าไหลเข้าเมืองอย่างรวดเร็ว การคมนาคมถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง ถนนเพชรเกษม จมอยู่ใต้น้ำสูง 1.50 เมตร ร้านค้าขนของหนีน้ำกันอลหม่าน การค้าขายเป็นอัมพาตสิ้นเชิง หน้าค่ายเสนาณรงค์สูงถึงเอว รั้วค่ายถูกน้ำพัดพัง 200 เมตร หลังจากน้ำเริ่มลด เกิดโรคอหิวาต์ระบาดจนคนตายและป่วยอีก/ เช็คดูข้อมูลแล้ว จ.ตรัง ก็น้ำท่วมเยอะเช่นกัน   .... ข้างล่าง เป็นคลิปน้ำท่วมหาดใหญ่ ปี 2553


คลิปน้ำท่วมหาดใหญ่ ปี พศ .2553

พ.ศ. 2519 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) หาดใหญ่ ฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน 7 วัน น้ำท่วม เขตเทศบาลระดับน้ำสูง 50 ซม. ท่วมถนนสายต่างๆ ทั้งหมด
ในท้องถิ่นอำเภออื่นๆ น้ำท่วมทั้งหมด

ปี พ.ศ. 2524 (วันที่ 4 ธันวาคม) อำเภอหาดใหญ่ ระดับน้ำในอำเภอหาดใหญ่สูงขึ้นเรื่อยๆ  สวนยางหลายแห่งถูกน้ำท่วม

ปี พ.ศ. 2527 (วันที่ 5 ธันวาคม) จังหวัดสงขลา ฝนตกหนักมาก มีน้ำท่วมถนนเป็นบางแห่ง ถนนสายเล็กผ่านไม่ได้

ปี พ.ศ. 2531 (วันที่ 22 พฤศจิกายน) ประสบความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 2000 ล้านบาท  ระดับน้ำในตัวเมืองหาดใหญ่สูงประมาณ 1-2 เมตร


ปี พ.ศ. 2543   วันที่ 21-23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 )
เป็นภัยพิบัติครั้งมโหฬาร ทีสร้างความเสียหายให้ภาคใต้โดยเฉพาะ อ.หาดใหญ่   ประเมินความสูญเสีย ทางเศรษฐกิจ ประมาณนับหมื่นล้านบาท ระดับน้ำสูงประมาณ 2-3 เมตร  มีผู้เสียชีวิตตามประกาศจากทางราชการ 35 คน โดยจำนวนผู้เสียชีวิตจริง ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ สูงถึง 233 คน ไม่รวมชาวต่างประเทศ   น้ำท่วมครั้งนี้ รถยนต์ที่จอดอยูในเมืองหาดใหญ่จมน้ำเยอะมาก    น้องที่ทำงาน บ้านญาติที่หาดใหญ่ ก็มีรถยนต์ 2 คัน ที่ถูกน้ำท่วมแช่อยู่หลายวัน    จนต้องขนมาล้างเครื่องที่ กรุงเทพฯ ซ่อมนิ๊ดหน่อย แล้วก็ขายทิ้้ง


ปี พ.ศ. 2548 (ข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตั้งแต่วันที่ 14-24 ธ.ค.2548 )มีพื้นที่ประสบภัยรวม 8 จังหวัด คือ สงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง ยะลา และสตูล มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1.6 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 25 ราย แบ่งเป็น จ.สงขลา 13 ราย ตรัง 2 ราย ปัตตานี 1 ราย พัทลุง 3 ราย ยะลา 4 ราย นครศรีธรรมราชและสตูลจังหวัดละ 1 ราย และยังมีผู้สูญหายไปอีก 1 ราย ที่ จ.ยะลา มูลค่าความเสียหายประมาณ 600 ล้านบาท

ปี พศ. 2553  (วันที่ 1-11 พฤศจิกายน 2553 ) สงขลา หาดใหญ่ มีพื้นที่ประสบภัย รวม 16 อำเภอ 12 เขตเทศบาล 119 ตำบล 1,049 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 269,233 ครัวเรือน 802,247 คน อพยพไปอยู่ที่ปลอดภัย 39,900 คน มีผู้เสียชีวิต 35 คน ผู้บาดเจ็บ 1,494 คน ความเสียหายทางด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 623 หลัง เสียหายบางส่วน 43,331 หลัง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 202,499 ไร่ มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น รวมกว่า 1,500 ล้านบาท

น้ำท่วมปี 2452
จากครูสำราญ จ.ตรัง ได้มาจาก......

" เอกสารนี้อาจารย์สุนทรี สังข์อยุทธ์ อดีตหัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ จ.ตรัง มอบให้มา ซึ่งท่านได้รับมาจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติฯ จ.สงขลา อีกทอดหนึ่ง ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อร้อยปีก่อน ๖ วัน ปริมาณน้ำฝนรวมกันประมาณ ๒,๖๐๐ มม. ในจังหวัดตรังทางฝั่งมณฑลภูเก็ตบันทึกว่าฝนตกหนัก ๑๐ วัน เริ่มตกพร้อมกับฝั่งตะวันออก คือ ๒๕ พ.ย. ๒๔๕๒ ทางการบันทึกทั้งสองฝั่งมณฑล    ด้วยคำว่า "ทุพภิกขภัย" เหมือนกัน 

อย่าลืมนะครับว่าบรรพบุรุษคนใต้เก็บข้าวเป็นเลียงเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน เลือกกินข้าวเก่าก่อนข้าวใหม่ พร้อมทั้งสร้าง "เรินข้าว" มั่นคงกว่าบ้านอยู่อาศัยอีก ทั้งนี้เพราะบรรพชนของ เราคงได้ข้อสรุปว่าเราต้องอยู่กัยภาวะความผันผวนของสภาพอากาศมาแต่โบราณ เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี ๒๔๕๒ นี้ไม่น่าจะเป็นแบบท่วมธรรมดา เพราะส่งผลให้ประขาชนอดอยากขาดแคลนในเมืองทั้ง ๒ ฝั่งมณฑล ขนาดนั้น ถือได้ว่า ล้างสต็อคกันเลย (คนใต้ในอดีตมีสต็อคข้าวกินได้ ๔-๕ ปี.) "



เจอเอกสารนี้ จากเฟสบุ๊ค คุณครูสำราญ สมาธิ จังหวัดตรังครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น