วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

สถิติน้ำท่วมทั่วโลก

น้ำท่วมพม่า  ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ปี 2558 ดูจากภาพข่าว ทีวี ถือว่าสาหัสมาก  ต้องระดมกำลังกันช่วยเหลือทั่วโลก มีคนเสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 46 คน

น้ำท่วมอินเดีย   รัฐทมิฬนาดู  เดือน ธันวาคม 2558   ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ ศตวรรษ หากดูภาพข่าว ดูเหมือนจะไม่หนักหนาหากเทียบกับพม่า 2558 แต่ก็มีผู้เสียชีวิต 188 คน บาดเจ็บจำนวนมาก ต้องอพยพคนกว่า 2 แสนคน

สถิติน้ำท่วมกรุงเทพฯ           สถิติน้ำท่วมภาคใต้                  สถิติน้ำท่วภาคเหนือ                  
สถิติน้ำท่มภาคอีสาน                  Flood                                         Face Book



น้ำท่วมพม่า 3 สค. 2558

น้ำท่วมพม่า ครั้งใหญ่  3 สค. 2558

นำท่วมอินเดีย 3 ธค. 2558

                           น้ำท่วมยุโรบ 3 มิย. 2559
น้ำท่วมยุโรบ  3 มิย. 2559 ถือเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดของยุโรบ โดยท่วมหนักที่สุดที่ ฝรั่งเศสและเยอรมัน  มีผู้เสียชีวิต มากกว่า 9 ราย

พศ. 1642 - 2517 น้ำท่วมในอดีต  ที่มีผู้เสียชีวิตหลายล้านรา

พศ.1642  สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์   กระแสน้ำสูงและคลื่นจากพายุทำให้ชายฝั่งจมน้ำ ประชาชนเสียชีวิต  100,000 คน


ข้อมูลจาก.. http://www.flood.rmutt.ac.th/?p=837

พศ. 1771 เนเธอร์แลนด์    น้ำทะเลท่วมพื้นที่  ประชาชนเสียชีวิต  มากกว่า100,000

พศ. 1830  เนเธอร์แลนด์   เกิดน้ำท่วมที่ The Zuider Zee (อ่าวทางทะเลเหนือ) เมื่อกำแพงกั้นน้ำทะเลถูกทะลายลง มีผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วม 50,000 ราย พายุก่อให้เกิดคลื่นไปถึง East Anglia ประเทศ สหราชอาณาจักรทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 500 ราย รวมเป็น 50,500

พศ.1830 สาธารณรัฐประชาชนจีน  น้ำท่วม   ประชาชนเสียชีวิต  มากกว่า 50,000

พศ.1964 (18 พ.ย.) เนเธอร์แลนด์   กำแพงกั้นน้ำทะเลที่ Zuider Zee แตก น้ำท่วม 72 หมู่บ้าน  ประชาชนเสียชีวิต  10,000

พศ. 2185 สาธารณรัฐประชาชนจีน  Kaifeng จังหวัด Honan   พวกกบฏทำลายเขื่อนกั้นแม่น้ำของเมือง ทำให้น้ำท่วมเมืองและที่ราบลุ่ม  ประชาชนเสียชีวิต  100,000

พศ. 2367 รัสเซีย  เมือง St. Petersburg  แม่น้ำ Neva เป็นน้ำแข็ง ทำให้เกิดน้ำท่วมในเมืองใกล้เคียง  ประชาชนเสียชีวิต   10,000


พศ. 2430  (ก.ย.-ต.ค.) สาธารณรัฐประชาชนจีน  ฝนตกหนักในฤดูฝนตอนปลายทำให้แม่น้ำ Huang He หรือแม่น้ำเหลืองท่วมพื้นที่ 50,000 ตารางไมล์ 300 หมู่บ้าน มีคนจมน้ำ 900,000 ราย และประชาชน 2 ล้านคนต้องย้ายที่อยู่  ถึงแม้จะไม่รู้  ยอดผู้เสียชีวิตแน่นอนแต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนคาดว่าประมาณ 6 ล้านคน จัดเป็นน้ำท่วมที่ทำลายล้างมากที่สุดในประวัติศาสตร์


แม่น้ำเหลือง ประเทศจีน  / ภาพจาก http://images.thaiza.com/31/31_20151009144401..jpg

พศ.  2432  (31 พ.ค.) สหรัฐอเมริกา  เมือง Johnstown รัฐ Pennsylvania   เขื่อน South Fork แตก มีผู้เสียชีวิต 2,209 ราย จัดเป็นอุบัติภัยที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา  ภายหลังสิ้นสุดสงครามกลางเมือง

พศ. 2446  สหรัฐอเมริกา Willow Creek รัฐ Oregon  น้ำป่าที่รุนแรงทำให้มีผู้เสียชีวิต 200 ราย และบ้านเรือนอาคารหนึ่งในสามของเมืองถูกทำลาย

พศ. 2454 สาธารณรัฐประชาชนจีน   แม่น้ำแยงซีเกียงล้นฝั่ง  ประชาชนเสียชีวิต  10,000

พศ. 2474  สาธารณรัฐประชาชนจีน  แม่น้ำเหลืองท่วม ประชาชนเสียชีวิต   3,700,000  มีข้อมูลจาก
Dek-D ดอทคอม https://www.dek-d.com/studyabroad/26367/

พศ. 2480 (ม.ค.-ก.พ.) สหรัฐอเมริกา  Mississippi Valley เดือนมกราคม มวลน้ำประมาณ 156 พันล้านตันไหลท่วมตอนกลางของภาคตะวันตก ประมาณวันที่ 24 มกราคม ทำให้พื้นที่ 12 รัฐ เนื้อที่ 12,700 ตารางไมล์จมน้ำ มีคนจมน้ำ 250 รายและ 900 คนเสียชีวิตเพราะเจ็บป่วย บ้านเรือนเสียหาย 75,000 หลัง สภากาชาดได้สร้างค่ายรับผู้อพยพจำนวน 698,000 คนเพื่อให้เข้ารับการรักษา ความเสียหายมากกว่า $ 300 ล้าน

พศ. 2481 สาธารณรัฐประชาชนจีน แม่น้ำเหลืองท่วม  ประชาชนเสียชีวิต  1,000,000

พศ. 2482ภาคเหนือของ สาธารณรัฐประชาชนจีน น้ำท่วมเสียชีวิต 500,000 ราย และมากกว่า 1 ล้านคนตายเพราะความอดอยากที่เกิดขึ้นตามมา รายงานบางแหล่งกล่าวว่าเจียงไคเช็คสั่งให้ประชาชนทำลายเขื่อนเพื่อป้องการการรุกรานจากญี่ปุ่น

พศ. 2490 (5 ก.พ.) สหรัฐอเมริกา  Mississippi Valley  น้ำท่วมถึงแม้จะมีผู้สียชีวิตเพียง 16 ราย แต่สร้างความเสียหายถึง $850 ล้าน

พศ. 2491(พ.ค.-มิ.ย.)  ของสหรัฐอเมริกา ภาคตะวันตกเฉียงเหนือประชาชน 46 รายเสียชีวิตจากแม่น้ำ Columbia ท่วม ค่าเสียหาย $75 ล้าน

พศ. 2491 (1 มิ.ย.) สาธารณรัฐประชาชนจีน Foochow  พายุไต้ฝุ่นทำให้ผนตกหนัก น้ำท่วมชายฝั่ง ประชาชนเสียชีวิต   3,500

พศ. 2492 (ก.พ.) สาธารณรัฐประชาชนจีนน้ำท่วม  ประชาชนเสียชีวิต  50,000

พศ. 2494 (6-7 ส.ค.) แมนจูเรีย พายุไต้ฝุ่นทำให้น้ำท่วม  ประชาชนเสียชีวิต  4,800

พศ. 2496 (31 ม.ค.) เนเธอร์แลนด์ พายุเฮอริเคนและคลื่นยักษ์ทำให้น้ำในทะเลเหนือไหลข้ามกำแพงกั้นน้ำของฮอลแลนด์ในที่ต่างๆ 100 แห่ง   พื้นที่กว่า 4 ล้านเอเคอร์จมอยู่ใต้น้ำ    หนึ่งในหกของประเทศถูกปกคลุมด้วยน้ำ มีผู้จมน้ำเสียชีวิต  2,000 ราย และอีก 300 รายในสหราชอาณาจักร ผู้อยู่อาศัย 300,000 คน บาดเจ็บจากบ้านเรือนเสียหาย  เนเธอร์แลนด์สูญเสียพื้นที่เพาะปลูก 9.4% และทุ่งเลี้ยงสัตว์ 3.4% สูญสียปศุสัตว์ 35,000 ตัว สัตว์ปีก 100,000 ตัว หมู 25,000 ตัว ความเสียหายรวม $300 ล้าน


ความเสียหายครั้งนี้ทำให้ประเทศเนเธอร์แลนด์เริ่มโครงการมูลค่า $650 ล้านในการสร้างเขื่อนกั้นน้ำระยะทาง 25 ไมล์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งแนวกั้นน้ำดังกล่าว   ได้ถูกออกแบบเพื่อการป้องกันแยกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ “watchers” เป็นกำแพงกั้นน้ำทะเลชั้นนอกมีขนาดใหญ่และแข็งแรง “sleepers” เป็นกำแพงที่สร้างลึกเข้ามาในพื้นที่ภายใน และ “dreamers” เป็นแนวกั้นน้ำขนาดเล็กรอบฟาร์มของแต่ละครัวเรือน


พศ. 2497 (1 ส.ค.)กรุงเทหะราน อิหร่าน น้ำป่าท่วมผ่านลำห้วย มีผู้เสียชีวิต 2,000 ราย

พศ. 2497สาธารณรัฐประชาชนจีน แม่น้ำแยงซีเกียง ประชาชนเสียชีวิต   30,000

พศ. 2498 (ฤดูร้อน) อินเดียและปากีสถาน  ตะวันออกแม่น้ำ Ganges ท่วมพื้นที่มากกว่า 10,000 ตารางไมล์ บ้านเรือน 45 ล้านหลังถูกทำลาย และผู้เสียชีวิต 2,000 ราย


แม่น้ำคงคาเอ่อล้นไหลเข้าท่วม ณ เมืองริชิเกช ทางเหนือของอินเดีย หลังเกิดฝนตกหนักเมื่อ 17 มิถุนายน พศ.2556
ภาพจาก http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000158697


พศ. 2507  (17-19 ส.ค.)   สหรัฐอเมริกา Connecticut River Valleyพายุเฮอริเคน Diane ทำให้ปริมาณน้ำฝน 14 นิ้วในเขต New England ท่วมแม่น้ำหลายสาย มีผู้เสียชีวิต 190 ราย สร้างความเสียหาย $1.8 พันล้านเหรียญ

พศ. 2507(พ.ย.-ธ.ค.) เวียดนาม สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ไต้ฝ่น Iris และ ไต้ฝุ่น Joan ทำให้ฝนตกหนักในพื้นที่ 5 ล้านเอเคอร์ มีผู้เสียชีวิต 5,000 ราย ไร้ที่อยู่ 1 ล้านราย

พศ. 2512 (23 เม.ย.) สาธารณรัฐประชาชนจีน  Shantung Peninsula คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm surges) ก่อให้เกิดคลื่นสูง 20 ฟุตถล่มพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางไมล์ตลอดชายฝั่งของจังหวัด Shantung รัฐบาลจีนซึ่งขณะนั้นยังอยู่ในช่วงการปฏวัติวัฒนธรรม (the Cultural Revolution) แต่รายงานเบื้องต้นว่ามีผู้เสียชีวิตหลายแสนคน ความพยายามให้การช่วยเหลือ ทำได้ช้าเพราะอากาศหนาวเย็นและหิมะตกหนัก

ศ. 2514 (26-30 เม.ย.) บราซิล  Salvador (Bahia)  ปริมาณน้ำฝนวัดได้ 15 นิ้วใน 24 ชั่วโมง ทำให้ดินถล่มและน้ำท่วม หุบเขาหลายแห่งกลายเป็นทะเลสาบ บ้านเรือนและซากปลักหักพังถูกพัดลงน้ำ มีผู้เสียชีวิต 100 ราย บาดเจ็บ 2,000 รายและไร้ที่อยู่ 11,000 ราย

พศ. 2516 (26-30 เม.ย.) ตูนีเซีย Medjerda River  ฝนตกหนักท่วมหุบเขา 1 สัปดาห์ 15% ของการเพาะปลูกธัญพืชเสียหาย ผู้เสียชีวิต 150 ราย และไร้ที่อยู่ 26,000 ราย

พศ. 2516 (ส.ค.) ปากีสถาน Indus River Valley ฝนตกหนักทำให้แม่น้ำ Indus ท่วมนาน 10 วัน ระน้ำสูง 20 ฟุต ทำลายฝ้ายและข้าวสาลีที่กำลังเก็บเกี่ยว Punjab เป็นพื้นที่ที่ได้รับความสัญหายมากที่สุด ปศุสัตว์ตาย 70,000 ตัว บ้านพัง 255,000 หลัง และมีผู้เสียชีวิต 300 ราย


พศ. 2516 Mississippi สหรัฐอเมริกา  พื้นที่ที่มีขนาดใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศสถูกน้ำท่วม

พศ. 2517(มี.ค.-เม.ย.)บราซิล  ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมที่คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 1,500 รายภายใน 2 สัปดาห์ 20% ของประเทศได้รับผลกระทบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Santa Catarina ที่ซึ่งระดับน้ำทำให้ซากปศุสัตว์แขวนตายคากิ่งไม้ งู ตะขาบและแมงป่องหนีขึ้นไปอยู่บนบ้าน นักอุตุนิยมวิทยาเชื่อว่าพายุเกิดจากการทำลายป่าฝนบริเวณพื้นที่ทางใต้ของประเทศ



พศ. 2517 (ส.ค.) บังคลาเทศ  มรสุมทำให้น้ำท่วมพื้นที่ 20,000 ตารางไมล์ สร้างความเสียหายมากกว่า $2 พันล้าน ประชาชนเสียชีวิต 2,500 ราย เกิดโรคระบาดคล้ายอหิวาตกโรค สหรัฐให้ความช่วยเหลืออาหารในมูลค่ามากกว่า $2.5 ล้าน และยา 20 ตัน

พศ. 2519 (พ.ค.) Luzon ฟิลิปปินส์   พายุขนาดกลางทำให้ฝนตกและน้ำท่วมเป็นอาทิตย์ มีผู้เสียชีวิต 60 รายและอพยพ 630,000 ราย

พศ. 2519 (ก.พ.) สหรัฐอเมริกา   Loveland รัฐ Colorado ปรากฏการณ์ในรอบ 100 ปี น้ำป่าท่วมผ่านหุบเขาแคบๆ ทำให้ผู้ที่มาพักแรม พักผ่อน จมน้ำเสียชีวิต 80 ราย

พศ. 2519 (พ.ย.)  อินโดนีซีย ชวาตะวันออกน้ำท่วมที่เกิดจากฝนตกหนักทำให้มีผู้เสียชีวิต 136 ราย

พศ. 2520 (6 เม.ย.)  สหรัฐอเมริกา  Appalachia น้ำไหลลงมาทางลาดของภูเขา ทำให้ระดับน้ำสูงในรอบร้อยปี มีผู้เสียชีวิต 20 ราย และ 23,000 รายต้องอพยพ มูลค่าความเสียหายหลายล้านดอลลาร์

พศ. 2520 ( 20 ก.พ.)สหรัฐอเมริกา  Johnstown Pennsylvania น้ำท่วมร้ายแรงทำให้มีผู้เสียชีวิต 77 ราย สร้างความเสียหายให้บ้านเรือน 2,500 หลัง มูลค่าความเสียหาย $200 ล้าน ปริมาณน้ำฝน 9 นิ้วที่ตกติดต่อกัน 8 ชั่วโมงทำให้ระบบควบคุมน้ำท่วมเสียหาย มวลน้ำ 100 ล้านแกลลอนกวาดทุกสิ่งที่ขวางหน้าและบางศพไม่สามารถค้นพบได้จน 1 ปี ต่อมา

พศ. 2521 (1 ก.พ.) สหรัฐอเมริกา California และ Arizona ฝนและลมก่อให้เกิดน้ำท่วม มีผู้เสียชีวิต 11 ราย สร้างความเสียหาย $23 ล้าน น้ำจากแม่น้ำ Santa Cruz ทำลายสะพานทุกแห่งที่น้ำผ่าน

พศ. 2521 อินเดีย (ฤดูร้อน) นิวเดลลี  ฝนที่เกิดจากมรสุมสร้างความเสียหายหลายล้านดอลลาร์และทำให้คนหลายล้านคนไร้ที่อยู่ มีผู้เสียชีวิต 1,000 ราย แม่น้ำ Ganges และ Jamura ทำลายเมืองศักสิทธิ์
ชื่อ Benares, Allahabad, และใกล้ Agra ของเมือง Taj Mahal ประชากร 3.5 ล้าน รู้สึกถึงผลกระทบและบ้านเรือนไม่น้อยกว่า 600,000 หลัง ถูกน้ำพัดพาเสียหาย

พศ. 2523 อินเดีย  (ฤดูใบไม้ร่วง)West Bengal มรสุมทำให้เกิดฝนตกหนัก ดินถล่ม และทำลายสิ่งก่อสร้างมีผู้เสียชีวิต 1,500 ราย

พศ. 2524  เวเนซูเอลา (ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน) Caracas ฝนตกหนักทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเวเนซูเอลาทำให้มีผู้เสียชีวิต 47 ราย อพยพ 4,000 ราย ทรัพย์สินเสียหาย $50 ล้าน

พศ. 2524 ( ส.ค.)รัสเซีย ตะวันออกไต้ฝุ่น Phyllis ทำให้เกิดฝนตกหนักทรัพย์สินเสียหาย ประชาชน 8,000 คนต้องย้ายที่อยู่ ไม่ทราบยอดผู้เสียชีวิตที่เป็นทางการ

พศ. 2524   อินเดีย (ต้นต.ค.) Uttar Pradesh State มรสุมทำให้แม่น้ำ Rapti และแม่น้ำ Ghagra ล้นฝั่งท่วม 200 หมู่บ้าน ประชาชนจมน้ำ 425 ราย

พศ. 2524 (9 ต.ค.)  ฟิลิปปินส์  Tagumมรสุมทำให้น้ำท่วม ประชาชน 600 คน ต้องหลบซ่อนในที่พักคนงาน 8 แห่ง กระแสน้ำพัดต้นไม้ หินและโคลนเข้าท่วมหมู่บ้าน ทำให้บ้านเรือนเสียหาย มีผู้เสียชีวิต 160 รายบาดเจ็บ 100 คน

พศ. 2534 สาธารณรัฐประชาชนจีน  แม่น้ำแยงซีเกียง  ประชาชนเสียชีวิต  1,700 คน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น