เดือน ๓ ขึ้น 3 ค่ำ เทวดาเปิดประตูลม บ้างก็ว่าเทวดาจะไขประตูน้ำให้ตกลงสู่โลกมนุษย์ จึงให้คนทั้งปวงคอยสังเกตและฟังเสียงฟ้าร้องในวันนี้ ถ้ามีเสียงฟ้าร้องมาจากทิศใดก็จะทำนายลักษณะของฝนประจำปีของทิศนั้นตามตำราโบราณที่กล่าวไว้ / ตรงนี้ในแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละภาค จะใช้เวลาเดียวกันหรือไม่ ยังไม่ทราบแน่ชัดครับ...ตามความคิดผม จะไม่ตรงกันตามแสงแดดหรือแนวพระอาทิตย์ที่เคลื่อนไป
ผมใช้เวลาหลายปีในการตีความปริศนาธรรมโบราณแต่ละอย่างๆ อย่างเทวดาคืออะไร อสูรคืออะไร พระเจ้าคืออะไร มองทั้งแบบอัตตา และอนัตตา เอาวิชาอีเลคทรอนิคส์ ไฟฟ้า ไปจับโลกธาตุ จึงได้ความออกมา ว่า อ๋อ
ได้ศึกษาเรื่องโลกธาตุมาหลายปีจาก คำภีร์พระเวท พระไตรปิฏก โหราศาสตร์ แพทย์แผนไทย แยกคำ 2 คำคือคำว่าประตู กับคำว่าลม ประตูก็ตายตัวคือเปิดปิด มีหลายแบบ ทีอธิบายดีที่สุดคือวิชา ดิจิตอลอีเลคทรอนิคส์ เรื่อง Logic Gate ชนิดต่างๆ ส่วนเรื่องลม เรื่องธาตุ เรื่องมหาภูตรูปนั้น พระไตรปิฏก อภิธรรมปิฏกอธิบายไว้ดีที่สุด
ภาพนี้วาดแบบง่ายๆ (เพราะวาดยากกว่านี้ไม่เป็น) เส้นดำและแดงคือเส้นประตูลม เปิดยกน้อยยกมากให้ความชื้น สีฟ้า ไหลเข้า |
ประตูลมปิด ลมเข้าไม่ได้ ท่านคงหมายถึงลมที่พัดพาความชื้นข้ามา เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องฝน ลองสังเกตุดีๆวันไหนหากมีฝนตกติดต่อกันนานหลายชั่วโมง วันต่อมาในอาณาบริเวณนั้นเมฆฝนจะเข้าไม่ได้ จะอ้อมไปหรือไปแบบเลียบชานเมืองเหมือนติดกำแพง เหมือนประตูถูกปิด
ฝนจะหยุดตกฤดูหนาวเพราะความชื้นเข้าไม่ได้ เหตุที่เข้าไม่ได้เพราะอากาศเย็นลงมากดทับเอาไว้ เหตุที่ลงมากดทับเอาไว้เพราะพื้นดินเย็น เหตุที่พื้นดินเย็นก็เพราะพระอาทิตย์เคลื่อนลงไปอยู่ทางทิศใต้ เคลื่อนตามฤดูกาล แสงแดดเอียงมากๆ เอียงตามโลกเอียง พื้นดินเย็นแรงยกตัวต่ำ เหมือนปิดประตูลม ถ้าประตูลมเปิดช่วงเย็นจัดความชื้นเข้าได้ ยกขึ้นได้ช่วงหนาวจัด ความชื้นก็จะเปลี่ยนเป็นหิมะ หรือฝนน้ำแข็งได้ บ้านเราไม่มี มีแต่เขตุหนาว ที่มีกระแสน้ำอุ่นเฉียดเข้าไป หรือสาเหตุอื่นที่ผมยังไม่รู้
ประตูลมอีกอย่าง ที่มีในนิทาน ในหนังฝรั่ง คือบ้านหรือเมืองหรือโลก มีพลังที่มองไม่เห็นกั้นไว้หลายชั้น ฝรั่งเรียกว่ามี พลังบาเรีย มาครอบเมือง ครอบตัวเอาไว้ หากครอบเมืองเอาไว้ อาจยกขึ้นได้ หรือเปิดประตูได้ เปิดให้ลมชื้นเข้า เปิดให้น้ำฝนตกลงมา เปิดให้อากาศหนาวเข้ามา // ปิดเอาไว้ ทำไม เพื่อกั้นศาตราวุธ กั้นอุกาบาตุ หรือพลังชั่วร้าย จากศัตรู จากนอกเมือง นอกโลก เป็นต้น ตรงได้ยินครูบาตุ๋ยพูดเมื่อปี พศ.2559 เดือนกันยายน ที่ว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพฯท่วมภาคกลาง ที่ปลอดภัยคือ วัดธรรมกาย ปทุมธานี กับวัดปากน้ำ ที่มีพลังบาเรียปกป้องไว้
สมัยก่อน หรือจะเรียกว่าสมัยโบราณ ยุคที่เทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆยังไม่มี บรรพบุรุษของเรามีวิธีสังเกตุฟ้าฝน จากธรรมชาติรอบตัว จากธรรมชาตุทุกอย่าง มีภูมิปัญญาต่างๆเล่าสืบทอดกันมา และมีบันทึกเรื่องราวต่างๆเอาไว้มากมาย บางอย่างก็ดีกว่าปัจจุบัน บางอย่างก็ด้อยกว่า หลายอย่างก็จดและจำกันมา ไม่ครบ หรือผิดเพี้ยนไป ต้องมาวิเคราะห์กันใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเข้าใจตรงกันหรือไม่ เพราะวิถี วิธีคิดและเข้าใจ มีพื้นฐานความรู้ที่ไม่เหมือนกัน ก็อ่านเล่นๆ ตีความกันไปครับ จนกว่าจะถูกต้องงสมบูรณ์ในวันข้างหน้า
ตอนที่ 2 เรื่องจากต้นฉบับ
การสังเกตุฟังเสียงฟ้าร้อง จากตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์
โดย สำนักพิมพ์อำนาจสาส์น
ฟังเสียงฟ้าร้องเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำถึง ๕ ค่ำว่าตรงกับวันไหน
ฟังเสียงฟ้าร้องเดือน ๕ ทั้ง ๙ ทิศ
สิทธิการิยะ ตำราท่านกล่าวไว้ว่า เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ก็ดี 2 ค่ำก็ดี 3 ค่ำก็ดี ท่านให้ฟังฟ้าร้องในทิศทั้ง 9 และว่าตำรานี้สำหรับโลกมาแต่ก่อนแรกตั้งกัป กัลป์มาโน้น เหตุเทวดาปรึกษากันจะให้มนุษย์ทั้งปวงฟัง จะได้รู้ว่าดี หรือร้ายฟ้าร้องในประตูอันใด ท่านให้ทายตามทิศนั้นเถิด ถูกแล
ถ้าฟ้าร้องทางทิศบูรพา ประตูเทวดา ขุนนางจะรบกัน ชนะแก่ข้าศึก หาบำเหน็จมิได้แล
ถ้าฟ้าร้องทิศอาคเนย์ ประตูไฟ จะเกิดลมมากนัก ไฟจะไหม้บ้านเมืองแล
ถ้าฟ้าร้องทางทิศทักษิณ ประตูลม จะเกิดลมมากนัก ฝนจะน้อย ตั้งมาเท่าใดเลิกไปเสีย
ถ้าฟ้าร้องทางทิศหรดี ประตูภูต จะเกิดความเจ็บไข้มากนักแล
ถ้าฟ้าร้องทิศปัจจิม เทวดาไขประตูนาคฝนจะแล้ง น้ำจะน้อยข้าวกล้าในนาจะตายแห้งเสียหายหมด
ถ้าฟ้าร้องทางทิศพายัพ ประตูทองแดง จะเกิดฆ่าฟันกันเป็นต่าง ๆ แล
ถ้าฟ้าร้องทางทิศอุดร ประตูน้ำ น้ำจะหลากทุ่งแล
ถ้าฟ้าร้องทางทิศอีสาน ประตูมนุษย์ น้ำจะงาม คนทั้งหลายจะเป็นสุขแล
ถ้าฟ้าร้องจากทิศเบื้องบนอากาศ ประตูพรหม ลูกไม้จะตกแต่ดินขึ้นไปจนถึงยอดแล
ทิศอิสาน - ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ / ทิศบูรพา - ทิศตะวันออก
ทิศอาคเนย์ - ทิศตะวันออกเฉียงใต้ / ทิศทักษิณ - ทิศใต้
ทิศอุดร - ทิศเหนือ / ทิศประจิม - ทิศตะวันตก
ทิศพายัพ - ทิศะวันตกเฉียงเหนือ / ทิศหรดี - ทิศตะวันตกเฉียงใต้
ตำนานเบิกฟ้าหรือเทวดาไขประตูน้ำ
http://202.29.22.167/newlocaldb/?history6.html
เค้ามูลเดิม
เนื่องจากชาวอีสานมีความเชื่อ และถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณว่าเมื่อถึงเดือนสาม ขึ้น 3 ค่ำ ฟ้าจะไขประตูน้ำให้ตกลงสู่โลกมนุษย์ จึงให้คนทั้งปวงคอยสังเกตและฟังเสียงฟ้าร้องในวันนี้ ถ้ามีเสียงฟ้าร้องมาจากทิศใดก็จะทำนายลักษณะของฝนประจำปีของทิศนั้นตามตำราโบราณที่กล่าวไว้
เมื่อถึงเดือนสามเป็นการเริ่มเข้าฤดูใหม่ของการเกษตร ชาวบ้านเริ่มถางไร่นาสวนและสนใจเรื่องเกณฑ์น้ำฝนในปีนี้ มีความเชื่อว่าแต่ละปีจะมีเสียงฟ้าร้องเป็นปฐมฤกษ์ในกาลปีใหม่ หรือเป็นวันเทวาเปิดประตูน้ำ มีบันทึกเป็นตำราไว้ในหนังสือก้อม (ใบลาน) ชื่อเรื่องว่า ฟ้าไขบักตูน้ำ
ความว่า ในคืนเดือน ๓ ขึ้น๓ ค่ำนี้ ฟ้าจะร้องทิศใดทิศหนึ่งใน๘ ทิศ มีทิศบูรพาเป็นต้น ถ้าฟ้าร้องทิศไหนก็จะมีคำทำนายเกณฑ์น้ำฝนและความเป็นอยู่ของประชาชนในปีนั้น เช่น
ฟ้าร้องทิศบูรพา ถือว่าเทวดาไขประตูเหล็กสำหรับเปิดน้ำฝนปีนั้น น้ำฝนจะตกมากในต้นปี ส่วนปลายปีน้ำฝนจะมีปริมาณน้อย ตำรานี้เรียกว่าตำราฟ้าไขประตูน้ำ จารึกไว้ในหนังสือก้อม ต่อมามีผู้เรียกชื่อใหม่ว่า ตำนานเบิกฟ้า ดังข้อความจากหนังสือก้อมฉบับค้นพบที่วัดบ้านหนองหล่ม อำเภอเมืองมหาสารคาม และวัดบ้านองบัง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
การทำนายเสียงฟ้าร้องเปิดประตูน้ำไว้ ๘ ทิศ ในวันเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ ตำราโบราณกำหนดไว้ดังนี้
ฟ้าร้องทางทิศบูรพา มีครุฑเป็นสัตว์ประจำทิศเป็นทิศประตูน้ำ ฝนจะดี ข้าวกล้าในนางอกงามดี คนทั้งปวงจะได้ทำบุญให้ทานอย่างทั่วถึง
ฟ้าร้องมาจากทิศอาคเนย์ หรือทิศแมว ฟ้าจะเปิดประตูลม ฝนจะน้อย นาแล้ง คนจักอดอยาก และเกิดโรคท้องร่วงระบาด
ฟ้าร้องทางทิศทักษิณ หรือทิศราชสีห์ ฟ้าเปิดประตูทอง ฝนดีน้ำมาก ข้าวกล้าในนาจะเสียสองส่วนได้มาสามส่วน นาลุ่มจะเสียหายแต่นาดอนได้ผลดี ปลามีอุดมสมบูรณ์
ฟ้าร้องทางทิศหรดี หรือทิศเสือประตูตะกั่ว หรือประตูชิน เชื่อว่าฝนจะดีน้ำงาม ผลหมากรากไม้อุดมสมบูรณ์ ปูปลามีอุดมสมบูรณ์
ฟ้าร้องทิศปัจฉิม หรือด้านทิศนาค อันเป็นประตูเหล็ก ฝนจะแล้งน้ำน้อย ข้าวกล้าในนาจะตายแห้งเสียหาย
ฟ้าร้องทิศพายัพ หรือทางทิศหนูเป็นประตูหิน ฝนจะตกปานกลาง ข้าวกล้าจะได้ผลกึ่ง เสียกึ่ง ปูปลามีน้อย ฝูงคนจักป่วยไข้
ฟ้าร้องทิศอุดร หรือด้านทิศช้างเป็นทิศประตูเงิน ฝนจะดีตลอด ข้าวกล้างงอกงามดี ฝูงคนจักมีความสุขกันทั่วหน้า
ฟ้าร้องทางทิศอีสาน หรือหรือทิศวัว เป็นทิศประตูดินฝนจะดีแต่ต้นถึงปลายปี ข้าวกล้าจะงอกงามสมบูรณ์ดี คนทั้งปวงจะมีความสุขเกษมทั่วหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น