ภาพจาก.. http://www.earthonlinemedia.com/ebooks/tpe_3e/temperature/temperature_air_masses.html |
ลักษณะมวลอากาศจากภาพข้างบน
mT = Maritime Tropical Originates over the tropical oceans // Warm and Moist
cP = Continental Polar Originates over high latitude continents (about 60 degrees north) // Cold and dry
mP = Maritime Polar Originates over mid to high latitude oceans. // Cool and moist
cT = Continental Topical Originates over low to high latitude oceans. // Hot and Dry
เมื่อเกิดมวลอากาศขึ้นแล้วมวลอากาศนั้นจะเคลื่อนที่ออกไปยังบริเวณอื่น ๆ มีผลทำให้ลักษณะของลมฟ้าอากาศบริเวณนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมใหม่ มวลอากาศจะสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะทางไกลๆ และยังคงรักษาคุณสมบัติส่วนใหญ่เอาไว้ได้
การจำแนกมวลอากาศแยกพิจารณาได้เป็น 2 แบบ โดยใช้คุณสมบัติของอุณหภูมิเป็นเกณฑ์ และการใช้ลักษณะของแหล่งกำเนิดเป็นเกณฑ์
การจำแนกมวลอากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น
มวลอากาศอุ่น (Warm Air mass) เป็นมวลอากาศที่มีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศผิวพื้นที่มวลอากาศเคลื่อนที่ผ่าน มักมีแนวทางการเคลื่อนที่จากละติจูดต่ำไปยังบริเวณละติจูดสูงขึ้นไป ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัวอักษร " W "
มวลอากาศเย็น (Cold Air mass) เป็นมวลอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิผิวพื้นที่มวลอากาศเคลื่อนที่ผ่าน เป็นมวลอากาศที่เคลื่อนที่จากบริเวณละติจูดสูงมายังบริเวณละติจูดต่ำ ใช้สัญลักษณ์แทนด้วยอักษรตัว " K " มาจากภาษาเยอรมัน คือ " Kalt " แปลว่า เย็น และ
การจำแนกมวลอากาศโดยใช้แหล่งกำเนิดเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น
มวลอากาศขั้วโลก (Polar Air-mass) ที่มี มวลอากาศขั้วโลกภาคพื้นสมุทร (Marine Polar Air mass) มีแหล่งกำเนิดจากมหาสมุทร เมื่อมวลอากาศชนิดนี้เคลื่อนตัวลง มายังละติจูดต่ำจะเป็นลักษณะของมวลอากาศที่ให้ความเย็นและชุ่มชื้น แหล่งกำเนิดของมวลอากาศชนิดนี้อยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ ใกล้ช่องแคบแบริ่ง และเคลื่อนที่เข้าปะทะชายฝั่งทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้อากาศหนาวเย็นและมีฝนตก ในทางกลับกันถ้ามวลอากาศนี้เคลื่อนที่ไปยังบริเวณละติจูดสูง จะกลายเป็นมวลอากาศอุ่น เรียกว่า "มวลอากาศอุ่นขั้วโลกภาคพื้นสมุทร" มีลักษณะอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น
มวลอากาศขั้วโลกภาคพื้นทวีป (Continental Polar Air mass) มีแหล่งกำเนิดอยู่บนภาคพื้นทวีปในเขตละติจูดต่ำ มีลักษณะเป็น มวลอากาศเย็นและแห้ง เมื่อมวลอากาศเคลื่อนที่ผ่านบริเวณใดจะทำให้มีอากาศเย็นและแห้ง ยกตัวอย่างเช่น สำหรับประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากมวลอากาศชนิดนี้ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่แถบไซบีเรีย เมื่อเคลื่อนที่ลงมายังละติจูดต่ำกว่าลงมายังประเทศไทยในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง มกราคม ทำให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำลง ลักษณะอากาศเย็นและแห้งในฤดูหนาว
มวลอากาศเขตร้อน (Topical Air mass) แบ่งเป็น
มวลอากาศเขตร้อนภาคพื้นทวีป (Continental Topical Air mass) มีแหล่งกำเนิดบนภาคพื้นทวีป จะมีลักษณะการเคลื่อนที่จาก ละติจูดต่ำไปสู่ละติจูดสูง ลักษณะอากาศจะร้อนและแห้งแล้ง ทำให้บริเวณที่มวลอากาศเคลื่อนที่ผ่านมีลักษณะอากาศร้อนและแห้งแล้งจึงเรียกมวลอากาศนี้ว่า "มวลอากาศอุ่นเขตร้อนภาคพื้นทวีป" แหล่งกำเนิดของมวลอากาศชนิดนี้อยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศแม็กซิโกและทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าหากมวลอากาศนี้เคลื่อนที่มายังเขตละติจูดต่ำจะทำให้อุณหภูมิของมวลอากาศลดต่ำลงกว่าอุณหภูมิของอากาศผิวพื้นที่มวลอากาศเคลื่อนที่ผ่านจึงกลายเป็น "มวลอากาศเย็นเขตร้อนภาคพื้นทวีป" มีลักษณะอากาศเย็นและแห้งแล้ง
มวลอากาศเขตร้อนภาคพื้นสมุทร (Marine Topical Air mass) มีแหล่งกำเนิดอยู่บนภาคพื้นสมุทรจึงนำพาความชุ่มชื้น เมื่อเคลื่อน ที่ผ่านบริเวณใดจะทำให้เกิดฝนตก และถ้าเคลื่อนที่ไปยังละติจูดสูงจะทำให้อากาศอบอุ่นขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามวลอากาศเขตร้อนภาคพื้นสมุทรเคลื่อนที่จากมหาสมุทรอินเดียเข้ามายังคาบสมุทรอินโดจีนจะทำให้เกิดฝนตกหนักและกลายเป็นฤดูฝน เราเรียกมวลอากาศดังกล่าวว่า "มวลอากาศอุ่นเขตร้อนภาคพื้นสมุทร" ในทางกลับกันถ้ามวลอากาศนี้เคลื่อนที่ไปยังเขตละติจูดต่ำจัะมีผลทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง อากาศจะเย็นและชุ่มชื้น เรียกว่า "มวลอากาศเย็นเขตร้อนภาคพื้นสมุทร"
นอกจากมวลอากาศที่กล่าวมาแล้วยังมีมวลอากาศที่เกิดจากแหล่งกำเนิดอื่น ๆ อีก ได้แก่ เขตขั้วโลก มีมวลอากาศอาร์กติก เป็นมวลอากาศจากมหาสมุทรอาร์กติกเคลื่อนที่เข้ามาทางตอนหนือของทวีปอเมริกา และมวลอากาศแอนตาร์กติก เป็นมวลอากาศบริเวณขั้วโลกใต้ ซึ่งมีอากาศเย็นและเคลื่อนที่อย่างรุนแรงมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น